นพ.มานพ คาดสาเหตุ หมอป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มาจากสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคนละเลย
นพ. มานพ พิทักษ์ภากร" หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คาดสาเหตุหมอกฤตไท ป่วยมะเร็งปอดระยสุดท้าย ทั้งที่ดูแลสุขภาพอย่างดี อ่านแล้วมีแรงฮึดผลักดันโครงการมะเร็งปอดต่อ
จากกรณีที่ หมอกฤตไท ธนสมบัติกุล หมอหนุ่มวัย 28ปีได้เปิดเผยเรื่องราวที่ตนนั้นเป็นผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ผ่านเพจสู้ดิวะ ทั้งที่เป็นคนชอบออกกำลังกาย ร่างกายแข็งแรง กินอาหารคลีน นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ หลังจากเริ่มมีอาการไอและตรวจดูเจอโรคร้าย พบปอดขวาเหลือครึ่งเดียวทำให้ชีวิตเปลี่ยนป่วยเป็นมะเร็งปอดทั้งที่อายุยังน้อย ซึ่งเรื่องราวของคุณหมอได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมาก หลายๆคนส่งกำลังใจให้คุณหมอกันอย่างล้นหลาม และจากเรื่องราวดังกล่าวทำให้เกิดการตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมคนที่ดูแลตัวเองอย่างดี ไม่สูบบุหรี่ กลับป่วยเป็นโรคร้ายได้
ล่าสุด "นพ. มานพ พิทักษ์ภากร" หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทวีตข้อความแสดงความคิดเห็นถึงประเด็น เป็นมะเร็งปอด ผ่านแอคเค้าท์ทวิตเตอร์ @manopsi บอกว่า
"อ่านเพจ #สู้ดิวะ แล้วมีแรงฮึดผลักดันโครงการมะเร็งปอดต่อครับ บอกก่อนว่างานช้างมาก แต่เราจะพยายามผลักดันให้การตรวจรักษามะเร็งปอดด้วย comprehensive genomic profile และให้ยาต้านมะเร็งแบบมุ่งเป้าตามผลตรวจ เกิดขึ้นในระบบสุขภาพเมืองไทย ขอเวลาอีกนิดในการหาทุนครับ"
"ทราบมาแต่เดิมว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดของมะเร็งปอดคือ สูบบุหรี่ การติดตามข้อมูลมากขึ้นพบปัจจัยเสี่ยงอื่นอีก เช่น ก๊าซเรดอน, สารเคมีบางชนิด (แร่ใยหิน, โลหะหนัก ฯลฯ) และ PM2.5 เดิมเชื่อว่าบุหรี่ไม่สัมพันธ์กับ adenocarcinoma ข้อมูลปัจจุบันพบว่าบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดทุกชนิด"
- จับสัญญาณเตือนมะเร็งปอด อายุน้อยก็เป็นได้ ระยะแรกมักไม่มีอาการ
- หมอแล็บแพนด้า พูดแล้ว หลัง "หมอหนุ่ม" ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แม้ไม่สูบบุหรี่
- "หมอหนุ่มป่วยมะเร็ง" เคลื่อนไหว ขอบคุณทุกกำลังใจ พร้อมเผยอาการล่าสุด
"เมื่อแพทย์วินิจฉัยมะเร็งปอด ข้อมูลหลักที่สำคัญคือการดูว่าเป็นชนิด small cell หรือ NSCLC ถ้าเป็นอย่างหลังจะตามด้วยการตรวจหา EGFR mutation การตรวจพบจะสามารถให้ยาต้าน EGFR ได้ ปัจจุบันบัญชียาหลักมี Erlotinib ซึ่งผู้ป่วยไม่ว่าสิทธิใดก็เข้าถึงยานี้ได้ ส่วนยามุ่งเป้าอื่นยังไม่ครอบคลุม"
สำหรับบทบาทของ PM2.5 และมะเร็งปอดในคนไม่สูบบุหรี่ "ทำไมถึงต้องซีเรียสเรื่อง PM2.5? เพราะ PM2.5 เป็นเหตุสำคัญของมะเร็งปอดชนิดที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ซึ่งพบกว่า 50% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดชาวไทยโดยเฉพาะคนที่ไม่สูบบุหรี่ พบว่าเซลล์ปอดที่มี EGFR กลายพันธุ์ยังไม่เปลี่ยนเป็นมะเร็งจนกระทั่งได้รับ PM2.5 "
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ tnews