สังคม

heading-สังคม

หมอธีระ เผย ติดโควิดล่าสุด เสี่ยงแพร่เชื้อทั้งที่ไม่มีอาการ แถมป่วยนานขึ้น

05 ธ.ค. 2565 | 10:04 น.
หมอธีระ เผย ติดโควิดล่าสุด เสี่ยงแพร่เชื้อทั้งที่ไม่มีอาการ แถมป่วยนานขึ้น

"หมอธีระ" เผยสถานการณ์โควิด-19 ติดโควิดล่าสุด ชี้เสี่ยงแพร่เชื้อทั้งที่ยังไม่มีอาการ แพร่ไวขึ้น มีอาการป่วยนานขึ้น

 เรียกได้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้กลับมาเป็นประเด็นที่ประชาชนจับมองอีกครั้ง เนื่องจากแพทย์หลายคนออกมาเตือนว่าตอนนี้โควิดอยู่ในช่วงขาขึ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา หมอธีระ หรือ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน โดยระบุว่า

หมอธีระ เผย ติดโควิดล่าสุด เสี่ยงแพร่เชื้อทั้งที่ไม่มีอาการ แถมป่วยนานขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัพเดตความรู้โควิด-19


Puhach O และคณะ จากมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ทำการทบทวนความรู้วิชาการในปัจจุบันเกี่ยวกับธรรมชาติของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ Nature Reviews Microbiology เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา 


สาระสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับการแพร่เชื้อของโควิด-19 คือ "ระยะฟักตัว" หลังจากติดเชื้อ จนกระทั่งเริ่มเกิดอาการ มักใช้เวลาราว 4.6-6.4 วัน


ระยะเวลาป่วย/มีอาการ : โดยเฉลี่ยแล้วอาจมีอาการป่วยนานไปได้ถึงราว 10 วัน


ช่วงที่จะเสี่ยงแพร่เชื้อให้ผู้อื่น : ผู้ที่ติดเชื้อ แม้จะยังไม่ได้เริ่มมีอาการ แต่ตรวจพบปริมาณไวรัสสูง และสามารถแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นได้ตั้งแต่ประมาณ 3 วันก่อนป่วย (pre-symptomatic transmission) ทั้งนี้ไวรัสจะมีปริมาณสูงสุดช่วงเริ่มมีอาการ และพบว่าสามารถตรวจพบไวรัสที่สามารถแพร่แก่ผู้อื่นได้นานไปจนถึง 8-10 วันหลังจากที่เริ่มมีอาการป่วย

หมอธีระ เผย ติดโควิดล่าสุด เสี่ยงแพร่เชื้อทั้งที่ไม่มีอาการ แถมป่วยนานขึ้น
 

ประโยชน์ของ ATK หรือ rapid antigen test


แม้ ATK จะมีความไวต่ำกว่าวิธี RT-PCR ค่อนข้างมาก แต่ผลการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่ามีประโยชน์ในการใช้ประเมินสถานะของผู้ป่วยในการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น (infectiousness) ATK หรือ rapid antigen test มักมีสมรรถนะในการตรวจได้ผลบวก เมื่อปริมาณไวรัสสูงกว่า RT-PCR โดย ATK ตรวจได้ผลบวกเมื่อปริมาณไวรัสราว 10^4 -10^6 copies/ml ในขณะที่ RT-PCR ตรวจได้ผลบวก แม้มีไวรัสเพียง 10^2- 10^3 copies/ml

 
ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว ผู้ที่ติดเชื้อแล้วมีปริมาณไวรัสสูงราว 10^6 นั้น เทียบได้พอๆ กับการตรวจ RT-PCR ได้ค่า Ct ประมาณ 25 ซึ่งถือว่ามีโอกาสแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ ดังนั้น การใช้ ATK เพื่อช่วยตรวจประเมินสถานะของผู้ป่วยว่ายังมีผลบวกหรือไม่นั้น ก็ย่อมมีประโยชน์สำหรับประเมินความพร้อมในการออกจากช่วงเวลาแยกตัว (exit strategy)  จึงเป็นที่ส่วนตัวแล้วแนะนำมาตลอดว่า "หากติดเชื้อ ควรแยกตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 7-10 วัน จนแน่ใจว่าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจ ATK อีกครั้งได้ผลลบ" ก่อนจะออกไปใช้ชีวิตพร้อมป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดไปจนครบสองสัปดาห์ 


สถานการณ์ปัจจุบันจำเป็นต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง เลี่ยงการกินดื่มใกล้ชิดร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน เลี่ยงสถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดีเลือกร้านอาหาร สถานที่บริการ ที่มีพนักงานป้องกันตัวโดยใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ล้างมือเสมอ เวลาจับต้องสิ่งของสาธารณะไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนด เพื่อลดโอกาสป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID


สำคัญที่สุดคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ เวลาออกไปชีวิตประจำวัน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ไม่ควรหลงเชื่อคำลวงด้วยกิเลส หรือความเชื่องมงายที่ไร้สาระ และไม่อยู่บนฐานความรู้วิชาการที่ถูกต้องพิสูจน์ได้ ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดซ้ำย่อมดีที่สุด

 

 

ขอบคุณ Thira Woratanarat

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง