สังคม

heading-สังคม

โควิด XBB.1.16 เตรียมตัว รับวัคซีนประจำปี 2 ตัวพร้อมกัน เริ่ม พ.ค. 66 นี้

17 เม.ย. 2566 | 16:51 น.
โควิด XBB.1.16 เตรียมตัว รับวัคซีนประจำปี 2 ตัวพร้อมกัน เริ่ม พ.ค. 66 นี้

โควิด XBB.1.16 กรมควบคุมโรค ได้วางแนวทางป้องกันการระบาด ประชาชน 3 มาตรการ คือ รับวัคซีน 2 ชนิดพร้อมกัน ภายในเดือน พ.ค. 66 นี้ 

 โควิด XBB.1.16 เตรียมตัว รับวัคซีนประจำปี 2 ตัวพร้อมกัน เริ่ม พ.ค. 66 นี้ 

โควิด XBB.1.16 เตรียมตัว รับวัคซีนประจำปี 2 ตัวพร้อมกัน เริ่ม พ.ค. 66 นี้

โควิด XBB.1.16 เพิ่มขึ้นทั่วโลก แต่ยังไม่พบรุนแรงหรือหลบภูมิมากกว่าตัวอื่น โดยเราเพิ่งผ่านเทศกาลสงกรานต์กันมากสดๆร้อนๆ จึงทำให้ อาจพบป่วยโควิด มากขึ้น กรมควบคุมโรค ได้วางแนวทางป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประชาชน 3 มาตรการ คือ รับวัคซีน 2 ชนิดพร้อมกัน ภายในเดือน พ.ค.66 นี้ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิด XBB.1.16 เตรียมตัว รับวัคซีนประจำปี 2 ตัวพร้อมกัน เริ่ม พ.ค. 66 นี้

3 มาตรการป้องกันระบาด เตรียมความพร้อม พ.ค.นี้ เข้ารับวัคซีนประจำปี 2 ตัวพร้อมกันได้ ล่าสุด 17 เมษายน 25666  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ เปิดเผยว่า เทศกาลสงกรานต์ปีนี้กลับมามีกิจกรรมรวมตัวคนจำนวนมาก เช่น การสังสรรค์ในครอบครัว รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ โดยเฉพาะการเล่นน้ำสงกรานต์ที่มีการจัดในหลายพื้นที่ หลังงดเว้นในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 มาหลายปี ระหว่างทำกิจกรรมมีการใกล้ชิดและไม่ได้สวมหน้ากาก จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและทำให้พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ได้ ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์

สถานการณ์สัปดาห์ล่าสุด วันที่ 9-15 เมษายน 2566

  • พบผู้ป่วยรายใหม่เข้ารักษาในโรงพยาบาล 435 ราย เฉลี่ยวันละ 62 ราย
  • ผู้ป่วยปอดอักเสบ 30 ราย
  • ใส่ท่อช่วยหายใจ 19 ราย
  • และผู้เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งรับวัคซีนเข็มกระตุ้นนานเกินกว่า 3 เดือนแล้ว

ข้อแนะนำประชาชนหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์

  • ให้สังเกตอาการตนเอง 7 วัน
  • ระหว่างนี้หลีกเลี่ยงใกล้ชิดผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
  • หากมีอาการป่วยให้ตรวจ ATK

โควิด XBB.1.16 เตรียมตัว รับวัคซีนประจำปี 2 ตัวพร้อมกัน เริ่ม พ.ค. 66 นี้

ทางด้าน กรมควบคุมโรค ได้วางแนวทางป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประชาชน 3 มาตรการ คือ รับวัคซีน 2 ชนิดพร้อมกันได้ 

1.ทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำปี โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถรับวัคซีนทั้ง 2 ชนิดพร้อมกัน เริ่มเดือนพฤษภาคม 2566 จะช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้
 ส่วนผู้ที่ภูมิคุ้มกันขึ้นไม่ดี สามารถรับภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long Acting Antibody : LAAB) ซึ่งยังคงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่รับวัคซีนแล้วไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยกรมควบคุมโรคได้จัดส่งวัคซีนและ LAAB ให้สถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขไว้ฉีดประชาชนอย่างเพียงพอ

2.สวมหน้ากากในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่อร่วมกิจกรรมหรือไปสถานที่ที่มีกลุ่ม 607 จำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล สถานดูแลผู้สูงวัย และ

3.ให้ตรวจ ATK เมื่อป่วยมีอาการทางเดินหายใจ ไข้ ไอ เจ็บคอ หากผลเป็นบวก ให้สวมหน้ากากเมื่อใกล้ชิดผู้อื่น

ในกรณีที่มีสมาชิกครอบครัว เพื่อน/เพื่อนนักเรียน/เพื่อนร่วมงาน ที่ตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวกในช่วง 1-2 สัปดาห์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ทุกจังหวัดเตรียมทีมออกสบอสวนโรค

ส่วนมาตรการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข คือ

1.เร่งสื่อสารประชาชน และเตรียมพร้อมฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำปี พร้อมวัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

2.เตรียมพร้อมยา เวชภัณฑ์ และเตียง รองรับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการป่วยรุนแรงให้เพียงพอ

3.ทุกจังหวัดเร่งรัดติดตามเฝ้าระวังและรายงานโรคอย่างต่อเนื่อง ทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน โดยเฉพาะผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 ทุกราย ให้เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ ส่งตรวจ RT-PCR และตรวจหาสายพันธุ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมตรวจสอบประวัติที่เกี่ยวข้อง และรายงานข้อมูลภายใน 24 ชั่วโมง

4.ทุกจังหวัดให้เตรียมทีมออกสอบสวนโรค กรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตทุกราย เพื่อหาสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค รวมทั้งการระบาดของโรคที่มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อน โดยเฉพาะในโรงพยาบาล โรงเรียน สถานดูแลผู้สูงวัย ผู้พิการและด้อยโอกาส ค่ายทหาร เรือนจำ กลุ่มนักท่องเที่ยว ตามเกณฑ์ที่กำหนด  

XBB สายพันธุ์หลักในไทย 

โควิด XBB.1.16 เตรียมตัว รับวัคซีนประจำปี 2 ตัวพร้อมกัน เริ่ม พ.ค. 66 นี้
        
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการ ยังเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในประเทศไทยยังอยู่ในตระกูลโอมิครอน โดยสายพันธุ์หลักเป็นสายพันธุ์ลูกผสม XBB และพบ XBB.1.5 และ XBB.1.9.1 มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.16 พบมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกันทั่วโลก

XBB.1.16 ยังไม่พบรุนแรง-หลบภูมิกว่าตัวอื่น
โดยพบว่าในประเทศอินเดียมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่า XBB.1.16 มีแนวโน้มแทนที่สายพันธุ์อื่นๆ ทั้งหมดในที่สุด หรือกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักที่จะระบาดในช่วงต่อไป แต่ยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่นๆ และยังไม่พบว่ามีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์อื่นๆ ที่พบในช่วงเวลานี้เช่นกัน 

อาการ โควิด XBB.1.16

ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค  กล่าวว่า สำหรับข้อมูลผู้ป่วยโควิด-ช 19 สายพันธุ์โอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 ในไทย จำนวน 6 ราย เบื้องต้นพบว่าเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ อยู่ในวัยทำงาน และอาการป่วยไม่รุนแรง


จับตาโควิด XBB.1.16 ติดง่ายแถมหลบภูมิเก่ง ไทยมีคนป่วยเพิ่ม 2.5 เท่า

กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โควิด-19 หลังหมดสงกรานต์ พบผู้ป่วยเข้า รพ.เพิ่ม 2.5 เท่า จากสัปดาห์ก่อน เชื่อการระบาดที่เพิ่มขึ้นไม่กระทบ กับชีวิตของประชาชน ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.16 พบในไทย 6 คน เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเป็นวัยทำงาน อาการไม่รุนแรง ยังไม่พบอาการเยื่อบุตาอักเสบในไทย เบื้องต้นยังไม่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ด้าน ผอ.รพ.รามาฯ แจงการออกจดหมายเวียนถึงมาตรการรองรับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังพบแนวโน้มผู้ป่วยแอดมิตใน รพ.เพิ่มขึ้น รวมถึงเป็นสายพันธุ์ลูกผสม XBB เพิ่มขึ้นอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย LAAB

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในไทยคลี่คลาย ทำให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงออกมาทำกิจกรรมรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมากได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566 เมื่อวันที่ 16 เม.ย. นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถาน การณ์โรคโควิด-19 ประจำสัปดาห์ที่ 15 ระหว่างวันที่ 9-15 เม.ย.2566 พบผู้ป่วยรายใหม่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้วทั้งหมด 435 คน เฉลี่ยวันละ 62 คน ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าของสัปดาห์ก่อนหน้า ผู้ป่วยปอดอักเสบ 30 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 19 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน ผู้เสียชีวิต 2 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นนานเกินกว่า 3 เดือนแล้ว จึงขอย้ำให้กลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งนี้ สถานบริการจะปรับการให้บริการรูปแบบวัคซีนโควิดประจำปีตั้งแต่เดือน พ.ค.เป็นต้นไป

นพ.ธเรศ เผยอีกว่า ส่วนกรณีการแพร่ระบาดของ เชื้อสายพันธุ์โควิด XBB.1.16 ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก พบเชื้อแล้วใน 22 ประเทศโดยเฉพาะประเทศอินเดีย มีความสามารถในการติดต่อสูงกว่าเชื้อสายพันธุ์ในอดีต และเป็นที่จับตาขององค์การอนามัยโลก แต่ข้อมูลขณะนี้พบว่าอาการไม่ได้รุนแรงเพิ่ม สำหรับประเทศไทย มีรายงานพบเชื้อนี้ในฐานข้อมูลโควิดโลก 6 คน

ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 ในไทย จำนวน 6 คนนั้น เบื้องต้นพบว่า เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศอยู่ในวัยทำงานและอาการป่วยไม่รุนแรง ส่วนอาการสำคัญของ XBB.1.16 ที่ประเทศอินเดียรายงานว่า มี “เยื่อบุตาอักเสบ” ยังไม่มีรายงานในผู้ป่วยที่พบในไทย อย่างไรก็ตาม อาการของโควิด-19 จะมีอาการตัวร้อน เป็นไข้บางรายจะมีอาการระคายเคืองตามใบหน้า หรือดวงตาได้ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า XBB.1.16 จะมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อื่น ส่วนการกลายพันธุ์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ทางกรมควบคุมโรคติดตามสถาน การณ์ต่อเนื่อง จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก และขอให้มารับวัคซีนโควิด ถ้าหากฉีดเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน

นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับเทศกาลสงกรานต์ที่มีประชาชนออกมาเล่นน้ำจำนวนมากถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันมากที่สุด และมีความเสี่ยงสูงที่สุดแล้ว แต่เชื่อว่าการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นหลังสงกรานต์นั้น จะไม่กระทบกับวิถีชีวิตของประชาชน จึงขอให้สังเกตอาการตนเองใน 7 วันหลังจากนี้ และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สำหรับการตรวจ ATK สามารถตรวจเฉพาะตอนที่มีอาการป่วย

ทางด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่าจากข้อมูลภาพรวมการระบาดของโอมิครอนในประเทศ ไทยในช่วง 30 วันล่าสุด ที่มีการส่งข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆในไทยที่ถอดรหัสพันธุกรรมเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก หรือ GISAID ผ่าน Outbreak.info พบว่าสายพันธุ์หลักในประเทศไทยขณะนี้คือ XBB.1.5 ประมาณร้อยละ 47 รองลงมา คือ XBB.1.9.1 ร้อยละ 27 XBB.1.16 ร้อยละ 13 XBB.1.5.7 ร้อยละ 7 และ XBB.1.16.1 ร้อยละ 7 ทั้งนี้ XBB.1.16 เป็นตัวที่ทั่วโลกกำลังจับตาเนื่องจากมีการแพร่เร็ว ทั้งยังหลบหลีกภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ และจากการฉีดวัคซีนได้ดี แต่ข้อมูลที่พบอาการทางคลินิกยังไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น แม้ติดเชื้อยังไม่มีใครล้มป่วยหนัก แม้แต่ที่ประเทศอินเดียที่มีการระบาดมาก แต่คนไข้อาการหนักไม่ได้เพิ่มมาก การนำเสนอข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความตระหนก และให้เกิดการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการหย่อนยาน เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อจนกลายเป็นโรคประจำถิ่นในปัจจุบัน ลักษณะการระบาดมีความถี่มากขึ้น อีกทั้งภาวะโลกร้อนทำให้วัฏจักรเกิดการเปลี่ยนแปลงไวรัสก็มีการเปลี่ยนแปลงจึงต้องระวัง อย่างไรก็ตาม หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทั่วประเทศเกิดการเรียนรู้ เฝ้าระวัง มีนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงยา เวชภัณฑ์ วัคซีนเข้ามารองรับสถานการณ์อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเชื่อว่าหากเกิดอะไรขึ้นน่าจะเอาอยู่

ขณะที่ทางด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายดูแลสุขภาพ ให้สัมภาษณ์ถึงหนังสือของโรงพยาบาลรามาธิบดีเกี่ยวกับมาตรการรองรับกรณีโรคโควิด-19 ระบุว่า ให้เตรียมการรักษาหลังพบสายพันธุ์ลูกผสม XBB เพิ่มขึ้น และอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยแอนติบอดีสำเร็จรูป หรือ LAAB ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแจ้งภายในให้แพทย์ทราบถึงเชื้อโควิด-19 ที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ และเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีวันหยุดยาว ประชาชนรวมกลุ่มทำกิจกรรมกันมาก อาจมีการติดเชื้อและเข้ารับการรักษามากขึ้น จึงต้องเตรียมพร้อม และข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ระบุว่า โควิดสายพันธุ์ลูกผสม XBB มีเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีการปรับแนวทางการรักษาให้สอดคล้อง แต่เชื้อไม่มีความรุนแรงหรือระบาดมากขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งก่อนเทศกาลสงกรานต์ รพ.รามาฯได้ยกเลิกวอร์ดโควิด และช่วงสงกรานต์มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาไม่ถึง 10 คน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว อาการไม่น่าเป็นห่วง อาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งวอร์ดโควิด เพียงแต่เตรียมพร้อมไว้ เช่น เพิ่มเตียง


เมื่อถามถึงสาเหตุที่ รพ.รามาธิบดีปรับแนวทางการรักษาโดยไม่ใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปและโมลนูพิราเวียร์ในการรักษาโรคโควิด-19 รศ.นพ.สุรศักดิ์กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่าการตอบสนองต่อยาไม่ดีพอ เพราะเชื้อเปลี่ยนไป ที่ผ่านมายาโมลนูพิราเวียร์มีประสิทธิภาพดีมาก แต่ตอนนี้เชื้อเปลี่ยนไป และสถานการณ์ก็ยังไม่ได้รุนแรง

ทั้งนี้ ในประกาศของ รพ.รามาธิบดี เรื่อง มาตรการรองรับกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ฉบับที่ 3-2566 ลงวันที่ 12 เม.ย.2566 ระบุถึงการปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ และผู้มีอาการไม่รุนแรง ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยรักษาตามอาการ ไม่ต้องให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง ส่วนกรณีผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง ให้รักษาแบบผู้ป่วยนอกโดยให้ยาต้านไวรัสเรมดิซิเวียร์ และกรณีผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงให้รักษาแบบผู้ป่วยใน และใช้ยาเรมดิซิเวียร์ และยาอื่นๆ ตามดุลพินิจของแพทย์

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง