ปรากฏการณ์ จันทรุปราคาเงามัว หรือ ดวงจันทร์สว่างลดลง ในคืนนี้
คืนนี้ ดวงจันทร์สว่างลดลง วันที่ 5 พฤษภาคม 2566 เกิดปรากฏการณ์ "จันทรุปราคาเงามัว" หรือ ดวงจันทร์สว่างลดลง ในคืนจันทร์เต็มดวง
ปรากฏการณ์ จันทรุปราคาเงามัว หรือ ดวงจันทร์สว่างลดลง ในคืนนี้ โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ระบุว่า จันทร์เต็มดวงคืน 5 พ.ค. นี้ เกิด “จันทรุปราคาเงามัว” วันที่ 5 พ.ค. ถึงเช้ามืด 6 พ.ค. 66 จะเกิดปรากฏการณ์ จันทรุปราคาเงามัว เวลาประมาณ 22:14 - 02:31 น. ตรงกับคืนดวงจันทร์เต็มดวง ขณะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์จะสว่างลดลงเพียงเล็กน้อย
จันทรุปราคาเงามัว ดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลาประมาณ 22:14 น. ของวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 และเข้าสู่เงามัวมากที่สุดเวลาประมาณ 00:22 น. ของวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 จากนั้นจะค่อย ๆ เคลื่อนออกจากเงามัว จนสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลาประมาณ 02:31 น. สังเกตความเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างยาก มองด้วยตาเปล่าไม่ชัดเจน เนื่องจากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามัวของโลกบางส่วน และไม่ได้ผ่านเข้าไปในบริเวณเงามืด ดวงจันทร์จึงไม่ปรากฏเว้าแหว่ง จะยังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงแต่มีความสว่างในส่วนที่อยู่ในเงามัวลดลงเท่านั้น หากถ่ายภาพเปรียบเทียบความสว่างขณะเกิดปรากฏการณ์จะเห็นการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดวงจันทร์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับ ปรากฏการณ์จันทรุปราคา ในประเทศไทยครั้งต่อไป จะเกิดเป็น "จันทรุปราคาบางส่วน" ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม 2566
ขอบคุณ : เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ