กอนช. เตือนด่วนฉบับที่ 12 เผยพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติเตือนภัยฉบับที่ 12 เผยพื้นที่เตรียมความพร้อมรับมือเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 28 ก.ค.-2 ส.ค. 2566
จากกรณี วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เพจกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 12/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โโยทางด้านกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านประเทศไทย ทำให้ฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ทั้งนี้ กอนช. ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2566 ดังนี้
1. ภาคเหนือ จังหวัดตาก (อำเภออุ้มผาง)
จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่)
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเกษตรสมบูรณ์)
จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย)
จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และบึงโขงหลง)
จังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน และศรีสงคราม)
จังหวัดสกลนคร (อำเภอโคกศรีสุพรรณ)
จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง)
จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอนางรอง)
จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอชุมพลบุรี)
จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอภูสิงห์ ขุขันธ์ ขุนหาญ และปรางค์กู่)
จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอบุณฑริก)
3. ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอท่าตะเกียบ)
จังหวัดชลบุรี (อำเภอบ่อทอง)
จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง)
จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง มะขาม เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ โป่งน้ำร้อน แก่งหางแมว และนายายอาม)
จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง แหลมงอบ และเขาสมิง)
4. ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี)
จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง)
จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอบ้านตาขุน และพนม)
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอช้างกลาง)
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมือง ที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน
2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2566