สังคม

heading-สังคม

"อ.เจษฎ์" เคลียร์ชัด สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทำเสี่ยงหัวใจวาย จริงหรือไม่?

23 พ.ย. 2566 | 15:17 น.
"อ.เจษฎ์" เคลียร์ชัด สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทำเสี่ยงหัวใจวาย จริงหรือไม่?

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความไขข้อกระจ่าง กรณีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในเครื่องดื่มไร้น้ำตาล หรือ เครื่องดื่ม น้ำตาล 0% เสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์ ตามที่เป็นข่าวจริงหรือไม่...

 "อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความไขข้อกระจ่าง จากกรณี หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ออกมาเตือน สารหวานใน เครื่องดื่มไร้น้ำตาล หรือ เครื่องดื่ม น้ำตาล 0% เสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์  โดยได้ระบุว่า

 

\"อ.เจษฎ์\" เคลียร์ชัด สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทำเสี่ยงหัวใจวาย จริงหรือไม่?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"จริงๆ คือเตือนถึงสารให้ความหวาน ชื่อว่า Erythriol แค่ตัวเดียวครับ .. ไม่ใช่สารทุกตัวในเครื่องดื่มน้ำตาล 0%"

 

ก็ต้องบอกว่า อย่าพึ่งแตกตื่นตกใจอะไรไปครับ โดยเฉพาะคนที่นิยมดื่มเครื่องดื่มไร้น้ำตาล บริโภคอาหารขนมไร้น้ำตาล เพราะจริงๆ แล้วอาจารย์หมอพูดถึงแค่เฉพาะสารที่ชื่อว่า erythritol อีรีทริออล เพียงแค่ตัวเดียวครับ !

 

ซึ่งสารอีรีทริออล นี้มักจะใช้ในอาหารและเครื่องดื่มของคนที่บริโภคอาหาร "คีโต" และไม่ใช่พวกสารให้ความหวานชนิด aspartame แอสปาร์แตม หรือ sucralose ซูคราโลส ที่นิยมใช้กันในบ้านเราครับ (พูดง่ายๆ คือ ไม่ใช่ที่ใส่ในพวกเครื่องดื่ม โค้กซีโร่ เป็ปซี่แม็กซ์ ฯลฯ)

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ ผมเคยโพสต์อธิบายไปตั้งแต่ต้นปีแล้ว (คลิก) โดยเรื่องนี้มาจากงานวิจัยใหม่ ที่บอกว่า สารอิริทริทอล ซึ่งเป็นที่ยอมรับถึงความปลอดภัย และให้ใช้บริโภคกันมาอย่างยาวนานแล้วนั้น มี "ความสัมพันธ์" อย่างมีนัยสำคัญกับคนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดในสมองอักเสบ
 

แต่การบอกถึง "ความสัมพันธ์" ไม่ได้แปลว่าสารนี้จะเป็น "สาเหตุ" ของโรคนะครับ เพราะถ้าคนที่มีความเสี่ยงจะป่วยเป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดในสมองอยู่แล้ว และได้รับการแนะนำให้กินอาหารไร้น้ำตาลเป็นประจำ เพื่อให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ก็ไม่แปลกอะไรที่จะพบว่าว่าคนกลุ่มที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณสารในเลือดสูงตามไปด้วย

ถ้าสรุปสั้นๆ ก็คือ สำหรับคนทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรงดี สารอิริทริทอลสามารถนำมาใช้บริโภคแทนน้ำตาลได้ แต่ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม (ดูเรื่องผลกระทบถ้ากินมากเกินไป ได้ด้านล่าง)

 

ขณะที่กลุ่มที่มีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมองอักเสบ ถ้ากังวล ก็ควรพิจารณาเปลี่ยนไปใช้สารให้ความหวานตัวอื่นไปก่อนครับ

 

\"อ.เจษฎ์\" เคลียร์ชัด สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทำเสี่ยงหัวใจวาย จริงหรือไม่?

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง