สังคม

heading-สังคม

ข่าวดี! มูลนิธิสืบนาคะเสถียร พบ "ตุ่นปากยาว" สัตว์ที่คาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

30 พ.ย. 2566 | 10:52 น.
ข่าวดี! มูลนิธิสืบนาคะเสถียร พบ "ตุ่นปากยาว" สัตว์ที่คาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร โพสต์ข่าวดี หลังค้นพบ "ตุ่นปากยาว" สัตว์ที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยพวกมันถูกพบอีกครั้งในเทือกเขาไซคล็อปส์ ประเทศอินโดนีเซีย

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2566 เพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร  โพสต์ข่าวดี หลังค้นพบ  "ตุ่นปากยาว" สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีลักษณะตัวเหมือนเม่น จมูกเหมือนตัวกินมด และมีตีนเหมือนตัวตุ่น สัตว์ที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเคยคาดการณ์ว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยพวกมันถูกพบอีกครั้งในเทือกเขาไซคล็อปส์ ประเทศอินโดนีเซีย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี! มูลนิธิสืบนาคะเสถียร พบ \"ตุ่นปากยาว\" สัตว์ที่คาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

 

 ตุ่นปากยาว หรือชื่อภาษาอังกฤษ "แอตเทนโบโรห์" (Attenborough) 

มันถูกตั้งชื่อตามนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เดวิด แอตเทนโบโรห์ (David Attenborough) ผู้เจอมันครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1961 ในการเจอเจ้าตุ่นปากยาวครั้งนี้ ถูกจับภาพไว้ได้จากกล้องติดตามเส้นทางของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากพวกเขาใช้เวลาร่วมเดือนในการค้นหาสัตว์ชนิดดังกล่าว โดยติดตั้งกล้องดักถ่ายเอาไว้ถึง 80 ตัว เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่โดยรอบให้ได้มากที่สุด จนกระทั่งวันสุดท้ายของการสำรวจ กล้องตัวหนึ่งสามารถจับภาพเจ้าตุ่นปากยาวเอาไว้ได้ โดย เจมส์ เคมป์ตัน (James Kempton) คือผู้พบภาพของเจ้าตุ่นปากยาวตัวหนึ่งกำลังเดินผ่านพงหญ้าในป่าใหญ่ตัดกล้องไป เคมป์ตันกล่าวว่า “สาเหตุที่มันไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เนื่องจากมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มโมโนทรีม (monotremes) ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วางไข่ โดยมันมีวิวัฒนาการแยกออกมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ มานานกว่า 200 ล้านปีแล้ว
 

แม้การพบเจ้าตุ่นปากยาวนี้อีกครั้งจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่เรื่องน่าเศร้าก็มีเช่นกัน โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN จัดให้ตัวตุ่นปากยาวมีสถานะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ทว่าประเทศอินโดนีเซียกลับไม่มีกฎหมายคุ้มครองพวกมันอย่างจริงจัง

 

"มันคือตัวแทนของความหลากหลายทางชีวภาพบนเทือกเขาไซคล็อปส์ นั่นคือเหตุผลที่เราควรอนุรักษ์พวกมันรวมถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันด้วย อย่าให้ผืนป่าหายไปโดยเด็ดขาด" เคมป์กล่าว

 

ภาพจากวิดีโอนี้ ถือเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกที่ยืนยันการมีอยู่ของมันได้นับตั้งแต่ปี 1961 ดังน้ันแล้ว พวกตุ่นปากยาวไม่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วแต่อย่างใด มันยังคงหลบซ่อนสายตาพวกเราอยู่ในป่า พวกเรามีหน้าที่ที่จะต้องร่วมกันรักษาถิ่นที่อยู่ของพวกมันเอาไว้ เพื่อให้พวกมันไม่หายไปจากโลกนี้ตลอดกาล

 

ทั้งนี้ ทางเพจได้เผยภาพถ่ายของเจ้าตุ่นปากยาว ที่กล้องในป่าจับภาพได้ โดยภาพนั้นได้ให้เครดิตของ Expedition Cyclops ซึ่งถ้าหากนับตั้งแต่ปี 1961 จนถึงปัจจุบัน 2023 รวม 62 ปี ที่ไม่มีใครได้พบเจอตุ่นปากยาว
 

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง