เช็ค! เบอร์ฉุกเฉิน ก่อนเดินทาง 7 วันอันตราย ช่วงปีใหม่ 2567
7 วันอันตราย ของช่วงปีใหม่ทุกปีนั้น ย่อมมีอันตรายต่อผู้เดินทางกลับภูมิลำเนา เนื่องจาก เดินทางไกล อาจมีการเหนื่อยล้าต่อผู้ขับขี่ได้ง่าย อาจจะเกิดอการหลับใน จนเกิดเป็นอุบัติเหตุในที่สุด
เช็ค!เบอร์ฉุกเฉิน ก่อนเดินทาง 7 วันอันตราย ช่วงปีใหม่ 2567
แม้จะมีมาตรการการควบคุมอุบัติเหตุบนท้องถนนภายใต้แนวคิด “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” ที่รัดกุมเพียงใด แต่ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุในทุก ๆ พื้นที่ โดยสาเหตุหลักมาจากการดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย
โดย7 วันอันตราย ปีใหม่ 2567 วันไหนบ้าง โดย 7 วันอันตรายในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2567 เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2566 – 3 มกราคม 2567
เบอร์ฉุกเฉินเหตุด่วนเหตุร้าย
- 191 ติดต่อแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- 192 ภัยพิบัติแห่งชาติ
- 199 ศูนย์วิทยุพระราม เพื่อแจ้งอัคคีภัย/สัตว์ร้ายบุกรุกบ้าน
- 1418 มูลนิธิปอเต๊กตึ๊ง กทม.
- 1155 ตำรวจท่องเที่ยว (สายด่วนเหตุร้ายที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว)
- 1192 ศูนย์ปราบขโมยรถ (สตช.)
- 1193 ตำรวจทางหลวง
- 1195 กองปราบ (สายด่วนแจ้งเหตุอาชญากรรม คดีร้ายแรง ซับซ้อน และเป็นภัยต่อประเทศ)
- 1555 ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพฯ (หน่วยประสานงานกลางเหตุฉุกเฉินในกรุงเทพฯ)
- 1300 ศูนย์ประชาบดี เพื่อแจ้งบุคคลสูญหาย
เบอร์โทรฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินทาง
- 1137 วิทยุ จส.100 (เบอร์โทรฉุกเฉินแจ้งเหตุด่วนบนท้อง)
- 1644 สวพ. FM91 (รายงานสภาพจราจรและแจ้งเหตุด่วนบนท้องถนน)
- 1146 กรมทางหลวงชนบท (ติดต่อเรื่องเกี่ยวกับท้องถนนโดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด)
- 1197 ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจรตำรวจ
- 1199 กรมเจ้าท่า (เบอร์โทรฉุกเฉินติดต่อเรื่องทางเรือบนน่านน้ำไทย)
- 1356 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม (ศูนย์ประสานภารกิจด้านความปลอดภัยในระบบการขนส่ง)
- 1690 การรถไฟแห่งประเทศไทย (สอบถามสายรถไฟ ตั๋ว และอื่น ๆ )
- 1584 กรมการขนส่งทางบก
- 1586 สายด่วนกรมทางหลวง
- 1543 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
- 1677 วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน (เครือข่ายอาสาสมัคร)
- 1490 บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
เบอร์โทรฉุกเฉิน การแพทย์และโรงพยาบาล
- 1554 – เบอร์ หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล
- 1669 – เบอร์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ทั่วประเทศ)
- 1646 – เบอร์ หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน (กทม.)
- 1691 – เบอร์ โรงพยาบาลตำรวจ
- 1784 – เบอร์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- 1667 – เบอร์ สายด่วนกรมสุขภาพจิต
สุดท้ายนี้ ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการเดินทางนั้น คือ หลับใน หรือจะเป็นเมาเเล้วขับ หรือ คึกคะนอง เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ เข้าไป ซึ่งที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง!