10 สถานที่สวดมนต์ข้ามปี 2567 พื้นที่กรุงเทพมหานคร
เปิด 10 สถานที่พิกัดกรุงเทพมหานครสวดมนต์ข้ามปี เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับชีวิตก่อนเริ่มปีใหม่ 2567 จะมีที่ไหนบ้างไปดูกันเลย
1. วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
วัดอรุณราชวราราม หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง
2. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามโดยทั่วไปเรียก วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ
3. วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
วัดสระเกศ เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า"รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร"ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า"ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่า ๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า "วัดสระเกศ"
4. วัดมัชฌันติการาม
วัดมัชฌันติการาม หรือ วัดน้อย เป็นวัดราษฎร์ตั้งอยู่ในซอยวงศ์สว่าง 11 เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เจ้าจอมมารดาเที่ยง พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เข้ามาอุปถัมภ์ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดมัชฌันติการาม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าจอมมารดาเที่ยง
5. สวนโมกข์กรุงเทพ
ตั้งอยู่ใน: สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)
ที่อยู่: สวนรถไฟ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์: 02 936 2800
6. วัดหัวลำโพง พระอารามหลวง
วัดหัวลำโพง พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร วัดหัวลำโพงเดิมชื่อ "วัดวัวลำพอง" เป็นวัดราษฎร์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัดหัวลำโพงยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดหัวลำโพง และมูลนิธิร่วมกตัญญู
7.สวดมนต์ข้ามปี ณ ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9
ที่อยู่: 999 ซ.พระรามเก้า 19 ถ.พระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์: 02 719 7676
8. วัดยานนาวา
วัดยานนาวา พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดคอกควาย" เนื่องจากมีชาวทวายมาลงหลักปักฐานอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และชาวทวายจะนำกระบือที่เลี้ยงไว้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน หมู่บ้านบริเวณนั้นจึงได้ชื่อเรียกกันต่อมาว่า "บ้านคอกควาย"
9. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้น พระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5
10. วัดหัวคู้
ที่อยู่: 36 หมู่ 1 ซอย วัดหัวคู้ ตำบล ศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง สมุทรปราการ 10570
โทรศัพท์: 085 539 5525
ก่อนเริ่มต้นปีใหม่ เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับชีวิต ในปีใหม่ ปี 2567 (ปีจอ) นั้น นอกจาก 10 สถานที่นี้ที่เหมาะแก่การสวดมนต์ข้ามปี ยังมีวัดและสถานที่อื่น ๆ ที่เหมาะแก่การสวดมนต์ข้ามปีอีกมาก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia