สังคม

heading-สังคม

"ทนายหงส์" เผยข้อกฎหมาย พ่อแม่แยกทาง สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตรเป็นของใคร

24 ม.ค. 2567 | 18:48 น.
"ทนายหงส์" เผยข้อกฎหมาย พ่อแม่แยกทาง สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตรเป็นของใคร

ทนายหงส์ หัทยา อั้นเต้ง เปิดกฎหมายชัดเจน ถ้าพ่อแม่แยกทาง ตามกฎหมายสิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตรจะเป็นของใครกันแน่

เรียกได้ว่าหลายคนต่างยังข้องใจ กรณีพ่อแม่แยกทาง สิทธิ์ในการเลี้ยงดูลูกจะเป็นของใคร ล่าสุดทางด้าน "ทนายหงส์" ทนายความชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค ทนายหงส์ หัทยา อั้นเต้ง พร้อมระบุข้อความว่า 

"ทนายหงส์" เผยข้อกฎหมาย พ่อแม่แยกทาง สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตรเป็นของใคร

อุ้มท้องมา 9 เดือน ตอนอยู่ด้วยกันก็ไม่เคยดูแล วันนี้ลูกน่ารักแล้ว จะมาแย่งลูกไปจากแม่ไม่ได้แล้วนะ #แม่ไม่ยอม!!!

ถ้าพ่อแม่แยกทางกันสิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตรเป็นของใคร ?

การหย่าร้าง อาจทำให้สิ้นสุดสถานะความเป็นครอบครัว แต่สถานะความเป็นพ่อแม่ไม่อาจจบลงได้ สถานะความเป็นพ่อแม่ลูกจะมีอยู่ติดตัวตลอดไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งสิทธิ์การเลี้ยงดูบุตรตามสถานะของบิดามารดา ออกเป็น 3 กรณี คือ

1. บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน

เมื่อบิดามารดาหย่ากัน ต้องมีการตกลงกันว่าใครจะเป็นคนเลี้ยงดูบุตรเป็นหลัก หรือจะร่วมกันเลี้ยงดูอย่างไร เช่น การตกลงวันที่จะสลับให้บุตรอยู่กับบิดามารดา หรือหากมีบุตร 2 คน ก็อาจจะแบ่งเลี้ยงดูคนละคน แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องดำเนินการให้ศาลตัดสิน

มาตรา 1520 ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด

ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ในการพิจารณาชี้ขาดถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ (ตามมาตรา 1582 อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี หรือประพฤติชั่วร้าย) ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสและสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ

มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด

ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด

*** การหย่าไม่ว่าจะด้วยความยินยอม หรือจากคำสั่งศาล พ่อหรือแม่ ที่ไม่ได้เป็นฝ่ายที่มีสิทธิ์เลี้ยงดูลูก ก็มีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะติดต่อพบปะแล้วแต่ตกลง ตามมาตรา 1584/1 บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม เช่น ต้องได้เจอลูกสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง

2. บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และบิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร #กฎหมายจะให้สิทธิ์ทั้งหมดเป็นของมารดาแต่เพียงผู้เดียว เพราะถือเป็นผู้ตั้งครรภ์และให้กำเนิด

แต่หากบิดาต้องการสิทธิ์เลี้ยงดูบุตร จะต้องจดทะเบียนรับรองบุตร หรือจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง หรือหากตกลงไม่ได้ก็ต้องฟ้องศาลเพื่อขอเลี้ยงดูบุตร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

*** การขอจดทะเบียนรับรองเป็นบุตร เป็นผลดีต่อบุตรทั้งสิ้น ทั้งในสิทธิ์การรับมรดก การใช้นามสกุล ค่าอุปการะเลี้ยงดูร่วม แต่การจดขอรับรองบุตรต้องผ่านการยินยอมจากทั้งตัวเด็กเองและมารดาของเด็กด้วย ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนรับรองให้เด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล

3. หากไม่ปรากฏบิดา

กรณีนี้สิทธิ์เลี้ยงดูลูก จะเป็นของมารดาแต่เพียงผู้เดียว โดยสามารถระบุชื่อมารดาในใบสูจิบัตรได้โดยไม่มีผลต่อการติดต่อราชการใดๆ แต่หากพบว่ามีการขอ หรือเป็นฝ่ายร้องขอให้บิดามารับรองบุตร ก็สามารถเพิ่มชื่อบิดาได้ภายหลัง ซึ่งนายทะเบียนจะออกเป็นใบสูจิบัตรให้ใหม่ แต่ต้องมีหลักฐานการตรวจ DNA ยืนยันความเป็นบิดาที่แท้จริงเท่านั้น

หากมีคำสั่งศาลจากการขอ หรือถูกร้องขอให้ตรวจ DNA สามารถทำได้ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 160 แต่ต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย

การหย่าร้าง แยกทาง เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เมื่อทุกอย่างต้องดำเนินต่อไปการตกลงสิทธิ์เลี้ยงดูลูก ต้องคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรด้วย ธรรมนิติ จึงอยากเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวที่กำลังเจอปัญหาให้ผ่านไปได้ด้วยดี เพราะสถานะความเป็นพ่อและแม่ต่อให้สถานการณ์แย่แค่ไหนก็ไม่อาจทิ้งตำแหน่งนี้ได้

"ทนายหงส์" เผยข้อกฎหมาย พ่อแม่แยกทาง สิทธิ์ในการเลี้ยงดูบุตรเป็นของใคร

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง