ทำความรู้จัก โกลเด้นบอย ก่อนรับกลับไทย 21 พ.ค. นี้
คนไทยทำได้ กรมศิลปากร เตรียมรับมอบโบราณวัตถุ จำนวน 2 รายการ กลับไทย 21 พฤษภาคม 67 มาทำความรู้จัก โกลเด้นบอย กันค่ะ
โกลเด้นบอย คืออะไร อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ กับการทวงคืน โกลเด้นบอย กรมศิลปากร เตรียมรับมอบโบราณวัตถุ จำนวน 2 รายการ Golden Boy ประติมากรรมสำริด รูปพระศิวะ และสตรีพนมมือ กลับไทย 21 พ.ค.67 มาทำความรู้จัก โกลเด้นบอย กันค่ะ
ทั้งนี้ เพจฯ ASEAN “มอง” ไทย ได้เผย ข้อมูล ประวัติของ เทวรูปทั้ง 2 ชิ้น โดยมีความเป็นมาดังนี้
1. ประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (Golden Boy) หรือ กษัตริย์องค์ต้นตระกูลราชวงศ์มหิธรปุระ ท่านเป็นชาวเมืองพิมายที่ลงไปปราบกบฎในกรุงยโศธรปุระ และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงยโศธรปุระ (นครธมในเวลาต่อมา) ทายาทของพระองค์ที่สืบต่อมา เช่น พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2, พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราชวงศ์ของพระองค์ยังมีความเกี่ยวข้องกับ “นเรนทราทิตย์” ผู้มีอำนาจอยู่ในเมืองพนมรุ้ง เป็นต้น
ราชวงศ์มหิธรปุระของพระองค์ (Mahidharapura) เป็นราชวงศ์ “วรมัน” สุดท้ายของกรุงกัมพูชาโบราณ ก่อนที่จะถูกล้มล้างโดยราชวงศ์ใหม่อย่าง “แตงหวาน” หรือ ตระซ็อกประแอม หลังจากนั้นเป็นต้นมา กษัตริย์เมืองพระนครธมก็มิได้มีคำว่า “วรมัน” ต่อท้ายพระนามอีกเลย
เดิมประติมากรรมสำริดองค์นี้ถูกค้นพบอยู่ที่บ้านยาง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาถูกลักลอบออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเหลือแต่ฐานหินที่มีรูเสียบไว้
2. ประติมากรรมสำริดเทวสตรี
ประติมากรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้เป็นศิลปะท้องถิ่นอีสานใต้ ก่อนนครวัด นักวิชาการบางส่วนให้คำจำกัดความว่าเป็น “ศิลปะพิมาย” ถึงแม้จะมีความใกล้เคียงกับศิลปะบาปวนก็ตาม แต่มีความแตกต่างออกไปบ้าง และยังไม่ใช่ศิลปะนครวัด ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อมาในรุ่นหลานของพระองค์ อีกราว 2 รัชกาล ขอบคุณ : ASEAN “มอง” ไทย V.2
กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมศิลปากร ได้รับการประสานจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา โดยได้มอบหมายให้นาย John Guy ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน เป็นผู้แทนในการเจรจาเกี่ยวกับรายละเอียดในการส่งมอบโบราณวัตถุ จำนวน 2 รายการ กลับคืนสู่ประเทศไทย
ซึ่งขณะนี้พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา จะดำเนินการจัดส่งโบราณวัตถุ จำนวน 2 รายการ กลับคืนถึงประเทศไทย ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 โดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา ยินดีที่จะลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการส่งมอบโบราณวัตถุดังกล่าว ภายหลังจากการส่งมอบโบราณวัตถุให้อยู่ในความครอบครองของกรมศิลปากร
ขอบคุณ : กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมศิลปากร