บุกทลาย "เครื่องสำอาง" ปลอมเถื่อน ยี่ห้อดัง กรอกมือส่งขายทั่วประเทศ
KEY
POINTS
โดยการขอเลขจดแจ้งผลิตภัณฑ์ (เลข อย.) ได้ให้โรงงานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งโรงงานตั้งอยู่ใน อำเภอคลองข่อย จังหวัดนนทุบรี และโรงงานซึ่งตั้งอยู่ในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อทางโรงงานจดเลขจดแจ้งแล้ว ก็จะให้โรงงานผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารสำเร็จรูป บรรจุลงในถังพลาสติก จากนั้นนำมากรอกลงขวด กระปุก ติดสติกเกอร์ นำส่งขายให้กับลูกค้าต่อไป
สำหรับผลิตภัณฑ์แฮร์โค้ท ซึ่งมีจำนวน 5 กลิ่น ตนเองได้สั่งสารตั้งต้นมาจาก บริษัทจำหน่ายเคมีภัณฑ์ ย่านบางนา โดยส่งมาเป็นถังขนาด 200 ลิตร จากนั้นตนเองนำหัวน้ำหอมมาผสมเพื่อจำแนกกลิ่น เมื่อได้กลิ่นตามสูตรแล้ว จึงนำออกบรรจุ โดยให้คนงานกรอกลงขวด ติดสติกเกอร์ ออกขาย โดยนอกจากจะมี เซลล์ นำสินค้าไปเสนอขายตามสถานที่ต่างๆ แล้ว ยังมีการเสนอขายผ่านสื่อออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆเช่น LAZADA SHOPEE เป็นต้น โดยส่งขายในราคาขวดละ 40 -155 บาท แล้วแต่ชนิดของเครื่องสำอาง
สำหรับขวดเปล่า กระปุก ฝาจุก ฝาปั้ม ตนเองสั่งมาจากบริษัท ซึ่งจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวมาจากเขตบางนา กรุงเทพมหานคร สำหรับฉลากที่เป็นสติกเกอร์สำหรับติดขวดผลิตภัณฑ์ ตนเองสั่งมาจากโรงพิมพ์แห่งหนึ่ง บริเวณเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร จากนั้นเมื่อได้อุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว จะนำมาบรรจุเครื่องสำอางโดยใช้แรงงานกรอกลงขวดหรือกระปุกเพื่อส่งขายต่อไป
เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558
1.ฐาน “ผลิตเครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้ง” ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ฐาน “ขายเครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้ง” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ฐาน “ผลิตเครื่องสำอางปลอมฝ่าฝืนมาตรา 27(2) ประกอบมาตรา 29 (1) โดยเป็นเครื่องสำอางที่ใช้ฉลากแจ้งชื่อผู้ผลิต หรือแหล่งผลิตที่ไม่ใช่ความจริง” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ฐาน “ผลิตเครื่องสำอางปลอมฝ่าฝืนมาตรา 27(2) ประกอบมาตรา 29 (4) โดยเป็นเครื่องสำอางที่แสดงว่าเป็นเครื่องสำอางที่ได้จดแจ้งไว้ซึ่งมิใช่ความจริง” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ฐาน “ผลิตเครื่องสำอางฉลากแสดงข้อความที่ไม่ตรงต่อความจริง” ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายแพทย์ภุชงค์ ไชยชิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ขอขอบคุณตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ที่สืบสวนขยายผลจนสามารถตรวจยึดเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายได้จำนวนมาก ในครั้งนี้เป็นสถานที่ผลิตเครื่องสำอางที่ยังไม่ได้ขออนุญาต และพบเครื่องสำอางปลอม ที่นำเลขที่จดแจ้งเครื่องสำอางที่มิใช่ของตนเองมาแสดง รวมทั้งเครื่องสำอางที่ระบุชื่อและที่อยู่สถานที่ผลิตอยู่ที่กรุงเทพและนนทบุรี ในส่วนของพี่น้องประชาชนขอย้ำเตือนว่า การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ก่อนจำหน่าย โดยสามารถดูได้ที่ฉลากผลิตภัณฑ์ หรือที่บรรจุภัณฑ์ และควรซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน กรณีซื้อออนไลน์ให้ซื้อจากร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เรียบร้อยแล้ว
พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. กล่าวฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่าระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน อย่าหลงซื้อ เพียงเพราะเห็นแก่ราคาสินค้าที่ถูกกว่าท้องตลาดผิดปกติ ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และตรวจสอบเลขจดแจ้ง หรือเลขสารบบอาหารก่อน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เครื่องสำอาง อาหารเสริม และยา หากขายในราคาถูกเกินกว่าปกติ ให้ระลึกไว้เสมอว่าท่านกำลังเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อการโฆษณาและได้ของปลอม ของไม่มีคุณภาพ ใช้แล้วอาจเกิดอาการแพ้ และขอเน้นย้ำกับผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลายว่าอย่านำสินค้าที่ผิดกฎหมายมาจำหน่ายหรือหลอกลวงผู้บริโภคโดยเด็ดขาด หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ.1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา
เตือนภัยผู้บริโภค เจ้าหน้าที่บุกทลายโรงงานผลิต เครื่องสำอางบำรุงผมเถื่อน ยี่ห้อดัง พบสินค้าลักลอบผลิต ใช้วิธีกรอกมือทุกขวด เสี่ยงต่อสุขภาพ โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี โดย นายแพทย์ภุชงค์ ไชยชิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ปฏิบัติการทลายแหล่งผลิตเครื่องสำอางที่ใช้กับผมและหนังศีรษะยี่ห้อสมุนไพรบัวทอง ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง วัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ผลิต รวมจำนวน 69 รายการ รวม 283,200 ชิ้น มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท
สืบเนื่องจากกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับการประสานจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี แจ้งเบาะแสจากประชาชนให้ตรวจสอบบ้านพักอาศัยที่ลักลอบผลิตเครื่องสำอางบำรุงผม ยี่ห้อดัง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ตามร้านเสริมสวย ขายตามท้องตลาด ร้านขายอุปกรณ์เสริมสวย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้สืบสวนติดตามจนทราบถึงสถานที่ลักลอบผลิตสินค้าดังกล่าวจนนำมาสู่การเข้าตรวจค้นในครั้งนี้
ต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี นำหมายค้นของศาลจังหวัดปทุมธานี เข้าตรวจค้นบ้านพักอาศัย ในในหมู่ที่ ๖ ต.บางพูน อ.ปทุมธานี จ.ปทุมธานี พบ นางสาว นิสาชล(สงวนนามสกุล) อายุ 47 ปี เป็นผู้นำตรวจค้น และรับว่าเป็นเจ้าของสถานที่ โดยสถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของบริษัท บัวทอง คอสเมติกส์ 2021 จำกัด ขณะเข้าตรวจค้นพบคนงานจำนวน 4 คน กำลังผลิตเครื่องสำอาง ด้วยการกรอกมือใส่ขวดเพื่อนำออกขายให้กับประชาชน ตรวจยึดของกลาง ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ได้แก่ น้ำมันใส่ผม น้ำมันบำรุงเส้นผม ครีมบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ขจัดรังแค ครีมน้ำนมบำรุงผม ครีมหมักผม ยี่ห้อสมุนไพรบัวทอง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบรรจุเสร็จพร้อมขาย จำนวน 29 รายการ รวมกว่า 25,200 ขวด
2. วัตถุดิบบรรจุอยู่ในถัง 200 ลิตร จำนวน 6 รายการ
3. อุปกรณ์การผลิต ได้แก่ ขวดเปล่า กระปุกเปล่า ฝา สติกเกอร์ อุปกรณ์ในการผลิตจำนวน 34 รายการ รวมกว่า 258,000 ชิ้น
ตรวจยึดของกลาง รวมจำนวน 69 รายการ จำนวนกว่า 283,200 ชิ้น มูลค่ากว่า 20,000,000 บาทจากการสอบถาม นิสาชล (สงวนนามสกุล) รับว่า ตนเองจบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ศึกษาวิธีการผลิตจากคู่สมรส ซึ่งอดีตเคยเป็น เซลล์ ขายสินค้าประเภทเครื่องสำอางมาก่อน ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2555 จึงได้ทดลองผสมสูตรต่างๆ และทดลองนำออกขายโดยส่งตามร้านเสริมสวย ได้รับการตอบรับดี จึงได้พัฒนาสูตรเรื่อยๆ มา
โดยส่งขายตามร้านเสริมสวย มินิมาร์ต ร้านขายอุปกรณ์เสริมสวย รายได้ประมาณ 300,000 บาท ต่อเดือน ต่อมามียอดขายมากขึ้น จึงขยายกิจการ โดยมีตัวแทนเสนอสินค้า ปัจจุบันมีเซลล์ออกนำเสนอสินค้าตามสถานที่ต่างๆ จำนวน 8 คน แบ่งตามภูมิภาค จำนวน 4 สายงาน ทั่วประเทศ ปัจจุบันมีรายได้ในการขายประมาณ เดือนละ 600,00 บาท ปีละประมาณ 7,200,000 บาท มีลูกค้าที่เป็นร้านเสริมสวย ร้านค้า ร้านขายเครื่องสำอาง ทั่วประเทศกว่า 1,500 ราย