"ไซยาไนด์" ใน พืช 3 ชนิด ห้ามกินดิบเด็ดขาด อันตรายมาก
อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เตือน "ไซยาไนด์" ใน พืช 3 ชนิด เหากกินผิดวิธี เสี่ยงมีอันตรายถึงชีวิตได้ แนะนำให้ปรุงสุก
"ไซยาไนด์" เป็นข่าวที่กำลังเป็นที่น่าสนใจอยู่ในตอนนี้ สำหรับ 6ชาวเวียดนาม ที่ได้เสียชีวิตในโรงแรมดังกลางกรุง พบถูงวางยาพิษจนเสียชีวิต โดยย้อนโพสต์ของ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ได้เคยโพสต์เอาไว้ เกี่ยวกับ พืช 3ชนิด ที่มี ไซยาไนด์ เอา ระบุว่า
"หน่อไม้ดิบ - มันสำปะหลังดิบ มีสารพิษไซนาไนด์ ควรทำให้สุกก่อนรับประทานครับ"
มีประเด็นจากบางเพจ ที่ออกมาโพสต์ว่า "ก่อนกินต้องระวัง! 'รสขมของน้ำต้มหน่อไม้' คือ สารไซยาไนด์ ต้องเทน้ำแรกทิ้ง ต้มซ้ำอีก 30 นาที" อันนี้เป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องต้องระวังขนาดนั้นเหรอ !?
คำตอบคือ ไม่ขนาดนั้นครับ ! มันเป็นเรื่องจริง ที่เราไม่ควรรับประทาน หน่อไม้ดิบ มันฝรั่งดิบ และ มันสำปะหลังดิบ เพราะมันมีสารไซยาไนด์อยู่ตามธรรมชาติ และถ้ากินเข้าไปเป็นปริมาณมาก ไซยาไนด์จะไปจับกับเม็ดเลือดแดงของเรา ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือถึงขนาดเสียชีวิตได้ จึงควรนำไปทำให้สุกด้วยความร้อนเสียก่อน
ไซยาไนด์: สารพิษร้ายแรงใกล้ตัว
ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง พบได้ทั่วไปในธรรมชาติและมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท
- อันตรายของไซยาไนด์
ไซยาไนด์ออกฤทธิ์รวดเร็ว ส่งผลต่อร่างกายโดยยับยั้งการทำงานของเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำออกซิเจนไปใช้ ส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตได้ - อาการของการได้รับไซยาไนด์
ขึ้นอยู่กับปริมาณและวิธีการได้รับ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก ชัก หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิต
ไซยาไนด์สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง ได้แก่ การสัมผัสผิวหนัง การสูดดม และการรับประทาน
- แหล่งที่มาของไซยาไนด์
พบในธรรมชาติ เช่น เมล็ดแอปเปิ้ล ข้าวโพด อัลมอนด์
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น ยาฆ่าแมลง โลหะชุบโครเมียม พลาสติก
ควันไฟจากการเผาไหม้
ข้อควรระวัง:
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับไซยาไนด์ในทุกรูปแบบ
เก็บผลิตภัณฑ์ที่มีไซยาไนด์ให้พ้นมือเด็ก
สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ หน้ากาก เมื่อต้องสัมผัสกับไซยาไนด์
ศึกษาข้อมูลและวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีได้รับไซยาไนด์