"เงินดิจิทัล 10,000 บาท" เปิดวิธีลงทะเบียนผ่านแอป "ทางรัฐ"
คืบหน้าโครงการ "เงินดิจิทัล 10,000 บาท" เปิดวิธีลงทะเบียนผ่านแอป "ทางรัฐ" เปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567
คืบหน้าโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ป็นโครงการของรัฐบาลที่มุ่งมั่นส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัล โดยการแจกเงินให้กับประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ การลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะเริ่มวันที่ 1 สิงหาคม 2567 และเริ่มรับเงินเพื่อใช้จ่ายในไตรมาส 4 ในปีเดียวกันนี้
โดยทางด้าน นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าว โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet โดยเปิดให้ ลงทะเบียนผ่านแอปทางรัฐ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 15 กันยายน 2567 และเริ่มใช้จ่ายได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ประชาชนประมาณ 45-50 ล้านคนจะเข้าร่วมได้ และผู้ไม่มีสมาร์ทโฟนสามารถลงทะเบียนได้ระหว่างวันที่ 16 กันยายน ถึง 15 ตุลาคม 2567
โดยตั้งแต่ วันที่ 1 ส.ค. เวลา 08.00 น.รัฐบาลเปิดลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ที่กำหนดให้ประชาชนกลุ่มที่มีสมาร์ตโฟน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" ทั้งนี้ผู้มีสิทธิ์ต้องลงทะเบียนแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้
โดยขั้นตอนการสมัครใช้งานแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" สำหรับประชาชนกลุ่มที่มีสมาร์ตโฟน มีดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ"
- ได้โดยตรงจากแอปพลิเคชัน "App Store" สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS
- แอปพลิเคชัน "Google Play" สำหรับระบบปฏิบัติการม Android
2. เปิดแอปทางรัฐ กดปุ่ม สมัครสมาชิก/เข้าสู่ระบบ
3. กดที่คำว่าสมัครสมาชิก
4. กดปุ่ม สมัครด้วยบัตรประชาชน บนแอปพลิเคชันทางรัฐที่เดียว ไม่ต้องใช้แอปอื่นไม่ต้องไปเสียบบัตรที่ Counter Service ช่วยให้ลงทะเบียนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
5. อ่านข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัวจากนั้นกด ฉันยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข แล้วกด ยอมรับ
6. อ่านข้อแนะนำในการถ่ายรูปบัตรประชาชนจากนั้นกดปุ่มเพื่อถ่ายรูป
7. กรอกข้อมูลของท่าน เลขบัตรประชาชน เลขหลังบัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด และตรวจสอบให้ถูกต้องตามบัตรประชาชน แล้วกดปุ่มยืนยันตัวตน
8. อ่านข้อแนะนำในการสแกนใบหน้าจากนั้นเริ่มสแกนใบหน้าของท่าน
9. กำหนด ชื่อบัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่าน ในการเข้าสู่แอปฯแล้วกด ยืนยัน
10.ตั้งค่า PIN Code 6 หลัก แล้วกดยืนยัน PIN Code อีกครั้ง
11.เปิดใช้งานการสแกนใบหน้าของท่านโดยกดที่ใช้งาน
12.จากนั้นกด เริ่มใช้งานและเตรียมพร้อมรอติดตามประกาศวันกดยืนยันขอรับสิทธิจากรัฐบาลอย่างเป็นทางการได้เลย
ในกรณีที่ท่าน สแกนใบหน้าไม่ผ่าน สามารถสร้างบัญชีและเข้าใช้งานแอปทางรัฐได้ก่อนแล้วค่อยทำการสแกนใบหน้าภายหลัง โดยกดที่ปุ่ม สร้างบัญชี
การลงทะเบียนและยืนยันตัวตนในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จะเริ่มลงทะเบียนในวันที่ 1 ส.ค. 2567 เวลา 08.00 น. จากเดิมที่กำหนดลงทะเบียนในเวลา 00.00 น. ของวันที่ 1 ส.ค. จากนั้น ระบบ จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเตรียมเจ้าหน้าที่ รับเรื่องประสานงานให้ความช่วยเหลือ ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งผู้มีสิทธิ์สามารถลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 15 ก.ย.2567
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลข่าวสารโครงการ "ดิจิทัลวอลเล็ต" โทรสายด่วน Digital Wallet 1111 (24 ชม.) โดยรัฐบาล โดยกระทรวง DE เตรียมเจ้าหน้าที่รองรับการทำงานของระบบไว้กว่า 500 คน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก แก้ไขปัญหา ตอบข้อสงสัย เรื่องการลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต ให้กับประชาชน Walk in ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต 5,199 แห่ง
การลงทะเบียนสำหรับผู้ที่ไม่มีสมาร์ตโฟน หรือโทรศัพท์มือถือ รัฐบาลได้กำหนดสถานที่จุดให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ดังนี้
- ศูนย์ดิจิทัลชุมชน จำนวน 1,722 ศูนย์ทั่วประเทศ
- ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1,200 แห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นไปรษณีย์อนุญาต (เอกชน) และร้านค้าให้บริการ)
- ธนาคารออมสิน 1,047 แห่ง ทั่วประเทศ
- ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1,238 แห่งทั่วประเทศ
ไม่มีสมาร์ตโฟน ต้องทำอย่างไร
ขณะที่ผู้ที่ไม่มีสมาร์ตโฟน จะเปิดให้ลงทะเบียนในรอบถัดไป ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. - 15 ต.ค2567 ณ สถานที่ที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งจะมีการแจ้งระบุสถานที่อย่างเป็นทางการอีกครั้ง โดยจะต้องใช้บัตรประชาชนในการใช้จ่าย และต้องตรวจสอบคุณสมบัติสถานะบุคคลตามทะเบียนบ้าน
คุณสมบัติประชาชนผู้ได้รับสิทธิ
- ประชากรที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
- สัญชาติไทย
- มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 ก.ย.67)
- ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566
- ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันเกิน 500,000 บาท ไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม และเป็นเงินฝาก ณ วันที่ 31 มี.ค.67
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ
- ไม่เป็นผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการ/โครงการอื่นๆ ของรัฐ
- ไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ/โครงการอื่น ๆ ของรัฐ