สังคม

heading-สังคม

"หมอหมู" เตือน ชนิดยาห้ามกินคู่ "ไอบูโพรเฟน" อันตราย อาจถึงขั้นหัวใจวายได้

23 ส.ค. 2567 | 23:38 น.
"หมอหมู" เตือน ชนิดยาห้ามกินคู่ "ไอบูโพรเฟน" อันตราย อาจถึงขั้นหัวใจวายได้

"หมอหมู" รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี โพสต์เตือน ชนิดยาห้ามกินคู่ "ไอบูโพรเฟน" เด็ดขาด อันตรายมาก อาจหัวใจวายได้

"ไอบูโพรเฟน" เป็นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug: NSAID) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือน และลดไข้ และยาชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาโดยทั่วไป ล่าสุด "หมอหมู" รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี  เตือน ชนิดยาห้ามกินคู่ "ไอบูโพรเฟน" อันตรายมาก อาจหัวใจวายได้ โดยระบุว่า

หมอหมู เตือน ชนิดยาห้ามกินคู่ ไอบูโพรเฟน อันตราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำเตือน! เลือดออกภายใน เมื่อทานยาแก้ปวดเหล่านี้ร่วมกัน

หลายๆ คนมักจะใช้ยาที่ซื้อเองได้เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการเจ็บป่วยอื่นๆ อาการปวดหัว ปวดหลัง อาการไข้หวัด และปัญหาอื่นๆ สามารถรักษาได้ด้วยยาสามัญบางชนิด

อย่างไรก็ตาม ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงรุนแรง หากใช้ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทานไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ร่วมกับยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) อื่นๆ อาจไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย เช่น เลือดออกภายในและอาจถึงขั้นหัวใจวายได้

การใช้ไอบูโพรเฟนร่วมกับพาราเซตามอลหรือโคเดอีนนั้นปลอดภัย แต่ห้ามใช้ไอบูโพรเฟนร่วมกับยาแก้ปวดอื่นๆ เช่น แอสไพรินหรือนาพรอกเซน โดยไม่ได้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อน

ไอบูโพรเฟน แอสไพริน และนาพรอกเซน จัดอยู่ในกลุ่มยาเดียวกันที่เรียกว่า ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หากคุณใช้ร่วมกัน อาจเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียง เช่น

 

1. อาการอาหารไม่ย่อย – รวมถึงอาการปวดท้อง คลื่นไส้ และท้องเสีย

2. แผลในกระเพาะอาหาร – อาจทำให้เกิดเลือดออกภายในและโรคโลหิตจาง

3. อาการปวดหัว / เวียนหัว / ง่วงนอน

4. อาการแพ้

5. ในบางกรณี อาจพบปัญหาที่ตับ ไต หรือหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง

หากคุณทานยาแก้ปวดชนิดต่างๆ แล้วมีอาการถ่ายเป็นอุจจาระสีดำ / อาเจียนเป็นเลือด (สัญญาณของการมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร) หรือ เท้าบวม / ปัสสาวะมีเลือด หรือไม่ปัสสาวะเลย (สัญญาณของโรคไต) ควรหยุดยา และรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วนนะครับ

อ้างอิงข้อมูลจาก: Hirschowitz BI. Minimizing the risk of NSAID-induced GI bleeding. Cleve Clin J Med. 1999 Oct;66(9):524-7. doi: 10.3949/ccjm.66.9.524. PMID: 10535177.

เรียบเรียงโดย: รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี #หมอหมูวีระศักดิ์ #ตีแผ่ทุกความจริงด้วยวิทยาศาสตร์
หมอหมู เตือน ชนิดยาห้ามกินคู่ ไอบูโพรเฟน อันตราย

ขอบคุณ FB : รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15  เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15 เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ