ประโยชน์และความสำคัญของการกายภาพบำบัดใน "สัตว์เลี้ยง"
โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท เผยประโยชน์และความสำคัญของการกายภาพบำบัดใน”สัตว์เลี้ยง” ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก
การกายภาพบำบัดใน”สัตว์เลี้ยง” ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ที่นำมาใช้ร่วมกับการรักษาอาการ ด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วยังเป็นการช่วยให้การรักษาในรูปแบบต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากยึ่งขึ้น อาทิเช่น การช่วยในการรักษาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด หรือการส่งเสริมประสิทธิภาพของการทำงานของกล้ามเนื้อ กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ รวมไปทั้งการทำงานของระบบประสาทใน”สัตว์เลี้ยง”ให้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งการกายภาพบำบัดใน”สัตว์เลี้ยง”นั้นต้องมีทีมสัตวแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการกายภาพบำบัด พร้อมห้องสำหรับกายภาพรวมไปทั้งเครื่องมือที่ทันสมัย อาทิเช่น อัลตร้าซาวด์บำบัด(Therapeutic Ultrasound) เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) เลเซอร์ (Laser) ลู่วิ่งบก (Treadmil) ลู่วิ่งน้ำ(Under Water Treadmmil) สระว่ายน้ำ(Swimming pool) ยิมบอล (Gym ball) ไว้คอยให้บริการที่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยง
ธาราบำบัด ( Hydrotherapy ) เป็นการกายภาพบำบัดที่ใช้คุณสมบัติต่างๆ ของน้ำมาช่วยในการเคลื่อนไหวของตัวสัตว์ ทำให้สัตว์ที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีความผิดปกติของระบบประสาทเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระได้มากขึ้น มีการงอและยืดข้อต่อได้มากขึ้นในน้ำ และยังมีแรงกระทำต่อข้อต่อน้อยกว่าการออกกำลังกายบนบก หรือที่เรียกว่า Low impact exercise ทำให้ไม่เกิดความเจ็บปวด และความเสียหายต่อข้อต่อขณะบำบัด ดังนั้นในปัจจุบันการกายภาพบำบัดด้วยวิธีนี้จึงเป็นที่นิยม และมีหลากหลายวิธี เช่น การว่ายน้ำ และ Under Water Treadmill ( UWTM )
โดยทั่วไปเราใช้การกายภาพบำบัดเพื่อ
1. ลดปวด
2. ลดการอักเสบ
3. ลดอาการบวม
4. เพิ่มพิสัยข้อให้เป็นปกติ ( range of motion)
5. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ( muscle strength )
6. สัตว์ที่มีปัญหาการทรงตัว ( reduce balance and proprioception )
7. สัตว์ที่มีปัญหาการใช้งานบกพร่อง ( reduce function )
8. สัตว์ป่วยที่มีปัญหาการใช้ขารับน้ำหนักตัวบกพร่อง ( poor gait )
9. สัตว์ป่วยที่มีปัญหา Hypertonicity / hypotonicity ของระบบประสาท
10. สัตว์ป่วยที่มีปัญหาอัมพาต
11. สัตว์ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้อ spasm หรือ contraction
12. สัตว์ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวลุก นั่ง ยืน และเคลื่อนไหวลำบาก ( enforced or inevitable immobility / recumbency ) เช่น สุนัขอายุมาก และสุนัขที่เป็นโรคอ้วน
การกายภาพบำบัดในสัตว์เลี้ยง
* ความร้อนบำบัด ( Therapeutic Heat ) เป็นการบำบัดที่เหมาะสมกับสภาวะการอักเสบแบบเรื้อรัง เนื่องจากความร้อนบำบัดจะไปทำให้บริเวณที่ได้รับความร้อนบำบำ มีการขยายตัวของหลอดเลือด มีการนำกระแสประสาทที่ดีขึ้น มีการทำงานของเอมไซม์และการเมตาบอลิซึ่มที่ดีขึ้น มีการยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ และเป็นการลดปวดในภาวะเรื้อรังได้เป็นอย่างดี ลดความเจ็บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง แก้ไขภาวะข้อยึดติด ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
* ความเย็นบำบัด ( Therapeutic Cold ) ถือว่าเป็นการกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับภาวะการอักเสบแบบเฉียบพลันมากที่สุด สามารถลดอาการบวมน้ำ ลดอาการปวด และห้ามเลือดได้เนื่องจากการบำบัดด้วยความเย็นจะลดปฏิกิริยาการอักเสบที่จะเกิดขึ้นต่อไป ลดบวม และลดอาการเจ็บปวด การบำบัดด้วยความเย็นควรทำภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังจากได้รับการบาดเจ็บ
* การนวดอัลตราซาวน์ ( Therapeutic Ultrasound ) เป็นการกายภาพบำบัดที่ใช้หลักการของคลื่นเสียงความถี่สูง มาเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนในร่างกายสัตว์ ดังนั้นการนวดอัลตราซาวน์ ถือว่าเป็นการบำบัดด้วยความร้อนชนิดหนึ่ง แต่ให้ผลกับเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนัง 2 - 4 เซนติเมตร ซึ่งจะได้ประโยชน์กว่าการประคบร้อนทั่วไป ช่วยลดภาวะข้อยึดติด ลดการอักเสบแบบเรื้อรังของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ ช่วยกระตุ้นการหายของแผล นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการหายของภาวะกระดูกหัก
* ไฟฟ้าบำบัด ( electrotherapy ) ในทางกายภาพบำบัดมีด้วยกัน 2 ประเภทคือ
1. Electrical Stimulation for Pain Control เป็นการกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อควบคุมความเจ็บปวดในตำแหน่งที่มีการกระตุ้น โดยอาศัยหลักการของ Gate control theory of pain และการเกิด endogenous opioid
2. Neuromuscular Electrical Stimulation ( NMES ) เป็นการกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เหมาะสำหรับกล้ามเนื้อลีบแบบ disuse atrophy และนอกจากนั้นยังช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ ( re education ) ของเส้นประสาทส่วนปลายที่มีการกระตุ้นอีกด้วย
* การเลเซอร์เพื่อการรักษา ( Laser Therapy ) เป็นการใช้การทำงานของคลื่นแสง ที่เหมาะสมมากระตุ้น mitochrondia และเกิดพลังงานขึ้นภายในเซลล์ ทำให้เซลล์นั้นๆ เกิดการซ่อมแซมตัวเอง ข้อดีของเลเซอร์เมื่อเทียบกับการนวดอัลตราซาวน์แล้ว เลเซอร์เหมาะกับเนื้อเยื่อที่อยู่ผิวๆ ไม่ลึก ข้อต่อขนาดเล็กที่มีเนื้อเยื่อไม่มาก และเหมาะกับการอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ใช้เพื่อลดภาวะเจ็บปวด ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ ส่งเสริมการหายของแผลเรื้อรังส่งเสริมการหายของกระดูกหัก เป็นต้น
* การออกกำลังกายเพื่อการรักษา ( Therapeutic Exercise ) เริ่มตั้งแต่การออกกำลังกายด้วยการยืนอยู่กับที่ มีการเคลื่อนไหวน้อยๆ ไปจนถึงการออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวด้วยตัวเองอิสระ หรือมีอุปกรณ์เสริมในการออกกำลังกาย ทางสัตวแพทย์ผู้มีประสบการณ์จะหาวิธีการออกกำลังกายเพื่อการรักษา ให้เหมาะกับตัวสัตว์ ชนิดของการเจ็บป่วย ระยะการหายของการเจ็บป่วย และกล้ามเนื้อเป้าหมายที่ต้องการบำบัด เพราะเนื่องจากถ้ามีการออกกำลังกายเพื่อการรักษาในวิธีและระยะเวลาที่ไม่เหมาะสมแล้ว อาจทำให้เกิดผลเสีย เช่น เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันหรืออาการปวดขึ้นมาใหม่ ต้องหยุดการกายภาพบำบัดขั้นต่อไป หรือรบกวนการหายของสัตว์ เช่น การกายภาพบำบัดภายหลังการแก้ไขกระดูกหัก การออกกำลังกายที่เร็วเกินไป อาจทำให้กระดูกไม่ติด เป็นต้น
ข้อบ่งใช้ของธาราบำบัด
1. การอักเสบระยะเรื้อรังหรือกึ่งเฉียบพลันของเนื้อเยื่อ
2. การหดเกร็ง หรือภาวะแผลเป็นของเนื้อเยื่อ
3. สัตว์ป่วยที่มีปัญหาข้อเสื่อม
4. สัตว์ป่วยที่พักฟื้นภายหลังจากการผ่าตัดกระดูกและข้อ
5. สัตว์ป่วยที่มีปัญหา muscle spasm
6. สัตว์ป่วยที่มีปัยหา muscle weakness
7. สัตว์ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาททุกประเภท
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท
เรียบเรียงโดย ชาคริตส์ คงหาญ