นาก หญิงสาวตายท้องกลม ผู้มีรักแท้เพียงแค่หนึ่งเดียว

02 พฤศจิกายน 2566

ตำนานที่มีตัวตน นาก หรือ แม่นาก หญิงสาวตายทั้งกลม ผู้มีรักแท้เพียงแค่หนึ่งเดียว จากเรื่องเล่าน่ากลัว สู่ สถานที่ขอเลขเด็ดในยุคปัจจุบัน

ตำนานที่มีตัวตน ของสามีภรรยาคู่หนึ่ง น่าจะมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เธอชื่อ นาก หญิงสาวตายทั้งกลม ผู้มีรักแท้เพียงแค่หนึ่งเดียว วันนี้ ปาฏิหาริย์ ช่วง เจนจิราหามาเล่า จะพาไปย้อนฟังเรื่องเล่าและความเชื่อมีดังนี้ นาก หญิงสาวตายทั้งกลม ผู้มีรักแท้เพียงแค่หนึ่งเดียว

  นาก หญิงสาวตายท้องกลม ผู้มีรักแท้เพียงแค่หนึ่งเดียว

เปิดตำนานแม่นากพระโขนง มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง อาศัยอยู่ด้วยกันแถวพระโขนง สามีมีชื่อว่านายมาก ส่วนภรรยานั้นชื่อนางนาก ทั้งสองใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันจนนางนากตั้งท้องอ่อนๆ จากนั้นนายมากก็ได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นทหารประจำการที่บางกอก นางนากต้องอยู่ตามลำพังคนเดียว เมื่อเวลาผ่านไป ท้องของนางนากก็ยิ่งโตขึ้นเรื่อย ๆ จนครบกำหนดคลอด หมอตำแยก็มาทำคลอดให้ แต่ทว่า...ลูกของนางนากไม่ยอมกลับหัว จึงไม่สามารถคลอดออกมาตามธรรมชาติได้ ส่งผลให้นางนากเจ็บปวดเป็นยิ่งนัก และในที่สุดนางนากก็ทนความเจ็บปวดไม่ไหว สิ้นใจไปพร้อมกับลูกในท้อง กลายเป็นผีตายทั้งกลม ศพของนางนากถูกนำไปฝังไว้ยังป่าช้าท้ายวัดมหาบุศย์ สร้างความหวาดกลัวให้กับชาวบ้านระแวกนั้นเป็นอย่างมาก เพราะสมัยก่อนคนไทยเชื่อเรื่องผีวิญญาณเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และยิ่งตายท้องกลม ยิ่งเชื่อกันว่ามีแรงอาฆาตสูง 

เรื่องราวของ แม่นากพระโขนง ได้กลายเป็นบทประพันธ์ในรูปแบบการแสดงเป็นครั้งแรก เป็นบทละครร้องในปี พ.ศ. 2454 ในชื่อ "อีนากพระโขนง" โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ แสดงที่โรงละครปรีดาลัย (โรงเรียนตะละภัฏศึกษาในปัจจุบัน) ได้รับความนิยมอย่างมากจนต้องเปิดการแสดงติดต่อกันถึง 24 คืน 

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กลับมาฉายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2479 โดยออกฉายจนฟิล์มเปื่อยและหล่นหายสาบสูญไปอย่างน่าเสียดาย ในชื่อ นางนาคพระโขนง (ไม่มีข้อมูลนักแสดงนำ, กำกับโดย หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ ส่วนละครโทรทัศน์ สร้างครั้งแรกในชื่อ แม่นาคพระโขนง ออกอากาศทาง ช่อง 7 นำแสดงโดย ปริศนา วงศ์ศิริ, ชานนท์ มณีฉาย

นาก หญิงสาวตายท้องกลม ผู้มีรักแท้เพียงแค่หนึ่งเดียว

ต้นตอของเรื่องราวนี้ ได้คุณ เอนก นาวิกมูล ผู้ค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์หลายด้าน รวบรวมข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับแม่นาก และเรียบเรียงไว้ในหนังสือ "เปิดตำนานแม่นากพระโขนง" โดยต้นตำรับประวัติของ "แม่นาก"  ที่เชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดเป็นฉบับ นายกุหลาบ (ก.ศ.ร. กุหลาบ เกิดสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2377 ถึงแก่กรรมสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2464) เขียนลงใน สยามประเภท ฉบับมีนาคม ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2422) เป็นการเขียนตอบผู้อ่านที่เขียนคำถามในรูปแบบโคลงสี่สุภาพมาถามผู้รอบรู้เรื่องเก่า

นายกุหลาบ เขียนคำตอบเป็นร้อยแก้วความยาวหน้าครึ่ง ใจความว่า พระศรีสมโภช (บุศย์) ผู้สร้างวัดมหาบุศย์ เล่าเรื่อง "อำแดงนากพระโขนง" ถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส (วัดโพธิ์) เสด็จอุปัชฌาย์ของนายกุหลาบ เรื่องผีแม่นากตามข้อเขียนของนายกุหลาบ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 3 

เรื่องราวของนายกุหลาบสะท้อนว่า แม่นากมีตัวตนจริง แต่ผีที่เล่าลือกันนั้นเป็นผีปลอม เนื่องจากบุตรของ นายชุ่ม-อำแดงนาก หวงทรัพย์ของบิดา กลัวบิดาจะมีภรรยาใหม่ จึงทำอุบายใช้คนไปขว้างปาชาวเรือตามลำคลองริมป่าช้าที่ฝังศพอำแดงนาก แต่ข้อมูลจากหลักฐานตามคำของนายกุหลาบ ก็ยังไม่อาจปักใจเชื่อได้ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เกิดเหตุผีแม่นาก

ปัจจุบันได้มีการตั้งศาลแม่นากพระโขนง เป็นที่กราบไหว้ขอพรของชาวไทยและต่างชาติ ต่างมีผู้คนแวะเวียนไปขอพร ขอลูก ขอเลขเด็ดไม่ขาดสาย สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ศาลย่านาค แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

ข้อห้ามเมื่อต้องไปไหว้ย่านาค

  • ห้าม! ปิดทองที่ใบหน้า ที่ดวงตา และริมฝีปากย่านาค
  • ห้าม! เทน้ำมันจันที่องค์ย่านาค ให้ปิดทอง ขอพรย่านาคที่ฝ่ามือ
  • ห้าม! พรมน้ำอบ และรดน้ำย่านาค
  • ห้าม! นำอาหารและเครื่องดื่มเข้ามารับประทานในบริเวณศาลย่านาค
  • ห้าม! นำสุนัข เข้ามาบริเวณศาลย่านาค
  • กรุณาถอดรองเท้าก่อนเข้าศาล

นาก หญิงสาวตายท้องกลม ผู้มีรักแท้เพียงแค่หนึ่งเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย - คุณ เอนก นาวิกมูล - ศาลย่านาค