คืบหน้ารถไฟฟ้าหลากสี เปิดบริการเเล้ว6สาย ในพื้นที่กรุงเทพฯเเละปริมณฑล
ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล คืบหน้ารถไฟฟ้าหลากสี เปิดให้บริการแล้วจำนวน 6 สาย รวมระยะทาง 170.38 กิโลเมตร 124 สถานี รวมระยะทาง 170.38 กิโลเมตร
คืบหน้ารถไฟฟ้าหลากสี เปิดให้บริการแล้วจำนวน 6 สาย รวมระยะทาง 170.38 กิโลเมตร 124 สถานี ได้แก่ สายสีเขียวเข้ม สายสีเขียวอ่อน สายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน สายสีม่วง สายสีทอง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 4 สาย ได้แก่ สายสีแดง สายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลือง
ปัจจุบัน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโครงข่ายรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้วจำนวน 6 สาย รวมระยะทาง 170.38 กิโลเมตร 124 สถานี ประกอบด้วย
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (คูคต-หมอชิต-อ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ) ระยะทาง 55.80 กิโลเมตร 47 สถานี
รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน-บางหว้า) ระยะทาง 14 กิโลเมตร 13 สถานี
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค) ระยะทาง 47 กิโลเมตร 38 สถานี
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) (พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 28.70 กิโลเมตร 8 สถานี (โครงข่ายสายหลัก)
รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ระยะทาง 23 กิโลเมตร 16 สถานี (โครงข่ายสายหลัก)
รถไฟฟ้าสายสีทอง (กรุงธนบุรี-คลองสาน) ระยะทาง 1.88 กิโลเมตร 3 สถานี (โครงข่ายสายรอง) (เป็นเส้นทางเพิ่มเติมนอกเหนือ M-Map ปี 2553)
ซึ่งรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการทั้ง 6 สายทาง ได้ช่วยยกระดับการเดินทางของประชาชนให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว ปลอดภัย ทันเวลามากยิ่งขึ้น
มีโครงข่ายรถไฟฟ้าซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยแต่ละโครงข่ายรถไฟฟ้าแต่ละสายมีรายละเอียดและความก้าวหน้าในการดำเนินงานดังนี้
1.โครงข่ายรถไฟฟ้าฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต (สายสีแดงเข้ม) และช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน (สายสีแดงอ่อน) มีระยะทางรวม 41.56 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ และจุดสิ้นสุดโครงการที่สถานีรังสิต ในทิศเหนือ และสถานีตลิ่งชัน ในทิศตะวันตก ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จทุกสถานี พร้อมเปิดให้บริการในปี 2564 และในอนาคตจะดำเนินการส่วนต่อขยายเชื่อมต่อพื้นที่ด้านทิศเหนือ (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) กับทิศใต้ (หัวลำโพง) และพื้นที่ด้านทิศตะวันออก (หัวหมาก) กับทิศตะวันตก (ศาลายาและศิริราช)
2.โครงข่ายรถไฟฟ้าสายหลัก สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบขนส่งมวลชนหลักเชื่อมต่อพื้นที่ทิศตะวันตกกับทิศตะวันออก รองรับพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นและแหล่งพาณิชยกรรมที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงและมีปัญหาการจราจรติดขัด โดยโครงการมีระยะทางรวมประมาณ 39.8 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินงานการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2559 โดยมีระยะทางรวมประมาณ 22.6 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ผ่านย่านพระราม 9 รามคำแหง ลำสาลี มีนบุรี ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์ บริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์ ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 74% (ณ เดือนธันวาคม 2563) คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567
3.โครงข่ายรถไฟฟ้าสายรอง สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นเส้นทางสายรองที่มีแนวเส้นทางไปตามถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทรา เพื่อรองรับการเดินทางไปยังศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี โครงการมีระยะทางรวมประมาณ 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน และสิ้นสุดที่สถานีมีนบุรี บริเวณระหว่างถนนรามคำแหง ซอย 192 และคลองสองต้นนุ่น ซึ่งบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 67% (ณ เดือนธันวาคม 2563) คาดว่าจะเปิดให้บริการบางส่วนในปี 2564
4.โครงข่ายรถไฟฟ้าสายรอง สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นเส้นทางสายรองตามแนวถนนลาดพร้าวและศรีนครินทร์
ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นและพาณิชยกรรมเป็นจำนวนมาก โดยโครงการมีระยะทางรวมประมาณ 30.4 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่สถานีรัชดาภิเษก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าหลายสาย ทั้งสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว สายสีเทา และสายสีส้มนอกจากนี้ ยังเชื่อมต่อ รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 70% (ณ เดือนธันวาคม 2563) คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565
ซึ่งเมื่อทั้ง 4 โครงการนี้แล้วเสร็จ จะมีเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 128.96 กิโลเมตร 83 สถานี ซึ่งจะทำให้กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถไฟฟ้าให้บริการถึง 11 สาย (เขียวเข้ม เขียวอ่อน น้ำเงิน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ม่วง ทอง แดงเข้ม แดงอ่อน ส้ม ชมพู เหลือง) ระยะทางรวม 299.34 กิโลเมตร 207 สถานี