สังคม

heading-สังคม

กรมประมง ประกาศปิดทะเลอันดามัน คุ้มครองปลามีไข่ ตั้งแต่ 1 เม.ย.- 30 มิ.ย.

30 มี.ค. 2564 | 09:31 น.
กรมประมง ประกาศปิดทะเลอันดามัน คุ้มครองปลามีไข่ ตั้งแต่ 1 เม.ย.- 30 มิ.ย.

กรมประมง ประกาศปิดทะเลอันดามัน 3 เดือน ตั้งแต่1 เม.ย.- 30 มิ.ย.เพื่อคุ้มครองปลามีไข่ พร้อมเปิดเงื่อนไข กำหนดชนิด-วิธีการของเครื่องมือประมง ที่ทำได้ในช่วงประกาศมาตรการ ย้ำหากฝ่าฝืนปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 30 ล้านบาท

กรมประมง เตรียมประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2563 ในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง 
ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563  เผยผลการศึกษาพบมาตรการฯ ที่บังคับใช้ เหมาะสมสอดคล้องกับข้อมูลการแพร่กระจายของสัตว์น้ำ สามารถคืนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร
ประมงได้อย่างยั่งยืน

นายมีศักดิ์  ภักดีคง  อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ฝั่งทะเลอันดามัน  ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายนของทุกปี ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืนที่กรมประมงได้มีการประกาศใช้มาอย่างยาวนานกว่า 35 ปี (เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2528) โดยได้มีการปรับปรุงมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะของทรัพยากรสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม และสังคม แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากสถิติการเก็บข้อมูลทางวิชาการ จำนวน และความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำพบว่ามีจำนวนลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งมาจากด้วยเหตุปัจจัยหลายด้าน ทั้งความเสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ สภาพแวดล้อมความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้ง อาจจะมีเรือประมงที่ใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงเข้ามาทำการประมงในพื้นที่ด้วย ประกอบกับจากการติดตามสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในแต่ละปีหลังจากมาตรการปิดอ่าวพบว่าลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่เกิดขึ้นในช่วงมาตรการ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุของปริมาณสัตว์น้ำที่ลดจำนวนลงทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2561 กรมประมง  จึงได้มีการออกประกาศ ลงวันที่ 22 มีนาคม 2561 เพื่อกำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในมาตรการปิดฝั่งทะเลอันดามันให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยพื้นที่การประกาศใช้มาตรการฯครอบคลุมพื้นที่ 5,000 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ตั้งแต่ปลายแหลมพันวา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ถึงปลายแหลมหยงสตาร์ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง  ระยะเวลา 90 วัน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน ของทุกปี และได้กำหนดชนิดของเครื่องมือประมงซึ่งไม่กระทบกับพันธุ์สัตว์น้ำในช่วงประกาศใช้มาตรการฯ ให้สามารถใช้ทำการประมงได้ ดังนี้
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1.เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 14 เมตร และทำการประมงในเวลากลางคืนนอกเขตทะเลชายฝั่ง
2.เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางวันและทำการประมงนอกเขต ทะเลชายฝั่ง
3.เครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีขนาดช่องตาอวน ตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวนไม่เกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และเครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวนเกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ
ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

4. เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง อวนหมึก
5. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
6. ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง 1 ลำ ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และลอบปูที่มีขนาดช่องตาเฉพาะท้องลอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
7. ลอบหมึกทุกชนิด
8. ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง
9. คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 18 เมตร มีความกว้างของปากคราดไม่เกิน 3.5 เมตร ช่องซี่งคราดไม่น้อยกว่า 1.2 เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน 3 อัน ต่อเรือกล 1 ลำ ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2560

10. อวนรุนเคย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา 68 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558
11. จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เป็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก แผงยกปูจักจั่น
12. เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
13. การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า ประกอบเครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือทำการประมงตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดให้การใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมงบางประเภทเป็นประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 ยกเว้นอวนครอบอวนช้อน หรืออวนยก
ปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเครื่องมือเครื่องมือทำการประมงที่กำหนดห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมงวิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้าใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. 2560 ลงวันที่  9 พฤศจิกายน พ.ศ.2560

ทั้งนี้ การทำการประมงโดยใช้เครื่องมือในข้อ 3 4 5 6 และ 7 จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ ลงวันที่  9 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 และจะต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมง ตามมาตรา 67  69 หรือ 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558

หากผู้ใดฝ่าฝืนจะเป็นความผิดตามตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และต้องได้รับโทษทางปกครองอีกด้วย

อธิบดีกรมประมง...กล่าวในตอนท้ายว่า ที่ผ่านมา กรมประมงต้องขอขอบคุณพี่น้องชาวประมงทุกคนที่ให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐในการปฎิบัติกฎหมายในมาตรการปิดอ่าวทะเลอันดามัน จนกระทั่งท้องทะเลค่อยฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ดังเช่นแต่ก่อน โดยดูได้จากผลการศึกษาของกรมประมง พบว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำในกลุ่มปลาหน้าดิน เช่น ปลาเก๋า ปลาใบขนุน ปลากระเบน ปลาจักรผาน ปลาเห็ดโคน ปลาตะเภาข้างลาย ปลาสาก ปลาจวด และ ปลาครืดคราด ฯลฯ มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ผนวกกับข้อมูลของการแพร่กระจายของสัตว์น้ำวัยอ่อนที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่และช่วงเวลาของการประกาศใช้มาตรการฯ จึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่ามาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน ฝั่งทะเลอันดามัน นั้นมีส่วนช่วยทำให้ประชากรสัตว์น้ำเพิ่มจำนวนมากขึ้นและช่วยฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเลได้ อีกประการหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ เรื่องของความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจ เมื่อภาครัฐดำเนินการและภาคประชาชนขานรับให้การสนับสนุน  การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำจะเกิด ความสมดุลของกำลังการผลิตจากธรรมชาติ เกิดความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ และเกิดความยั่งยืนของการประกอบอาชีพประมง ถึงแม้ในปีนี้ กรมประมงจะไม่ได้ประกอบพิธีประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากร สัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน ฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2563 เนื่องจากการเกิดสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 แต่การใช้มาตรการตามประกาศฯ ยังคงเป็นไปตามเดิม จึงขอความร่วมมือพี่น้องชาวประมงปฏิบัติตามกฎหมายและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ภาครัฐด้วย....อธิบดีฯ กล่าว

 

ขอบคุณกรมประมง

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15  เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15 เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ