ต่างประเทศ

heading-ต่างประเทศ

อนามัยโลกแนะนำ (WHO) ยาตัวใหม่ รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อาการรุนแรง

07 ก.ค. 2564 | 13:04 น.
อนามัยโลกแนะนำ (WHO) ยาตัวใหม่ รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อาการรุนแรง

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำการใช้ยาต้านอินเตอร์ลิวคิน-6 (interleukin-6) สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 อาการรุนแรง พร้อมกระตุ้นเตือนกลุ่มผู้ผลิตร่วมมือกันเพื่อเพิ่มการเข้าถึงตัวยาดังกล่าวอย่างรวดเร็ว

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันอังคาร (6 ก.ค.) องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำการใช้ยาต้านอินเตอร์ลิวคิน-6 (interleukin-6) สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) อาการรุนแรง พร้อมกระตุ้นเตือนกลุ่มผู้ผลิตร่วมมือกันเพื่อเพิ่มการเข้าถึงตัวยาดังกล่าวอย่างรวดเร็ว

ยาตัวใหม่ รักษาผู้ป่วยโควิด-19

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

องค์การฯ แถลงข่าวว่าคำแนะนำนี้อ้างอิงการค้นพบจากเครือข่ายการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ที่ริเริ่มโดยองค์การฯ ซึ่งเป็นโครงการวิเคราะห์ยาต้านอินเตอร์ลิวคิน-6 ขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน

ยาต้านอินเตอร์ลิวคิน-6 เป็นยากลุ่มแรกที่พบว่ามีประสิทธิภาพรักษาโรคโควิด-19 นับตั้งแต่องค์การฯ แนะนำให้ใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) เมื่อเดือนกันยายน 2020

“ผู้ป่วยโรคโควิด-19 อาการรุนแรงหรือขั้นวิกฤตมักมีปฏิกิริยาต่อต้านเชื้อไวรัสฯ รุนแรงเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ยาต้านอินเตอร์ลิวคิน-6 ได้แก่ โทซิลิซูแมบ (tocilizumab) และซาริลูแมบ (sarilumab) จะทำหน้าที่ระงับปฏิกิริยาที่มากเกินไปนี้”

องค์การฯ ระบุว่าเครือข่ายการวิเคราะห์ฯ บ่งชี้ว่าการใช้ยาต้านอินเตอร์ลิวคิน-6 ในผู้ป่วยอาการรุนแรงหรือขั้นวิกฤตช่วยลดอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับการดูแลแบบมาตรฐาน  ซึ่งหมายความว่าจะมีผู้เสียชีวิตน้อยลง 15 รายต่อผู้ป่วย 1,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตน้อยลงถึง 28 รายต่อผู้ป่วยขั้นวิกฤต 1,000 ราย

นอกจากนั้นการใช้ยาดังกล่าวทำให้อัตราการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยอาการรุนแรงและขั้นวิกฤตลดลงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับการดูแลแบบมาตรฐาน ส่งผลให้มีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจน้อยลง 23 รายต่อ 1,000 ราย

ยาตัวใหม่ รักษาผู้ป่วยโควิด-19


ทั้งนี้ องค์การฯ เรียกร้องผู้ผลิตยาต้านอินเตอร์ลิวคิน-6 ปรับลดราคาและสำรองตัวยาให้ประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง โดยเฉพาะห้วงยามที่จำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 กำลังเพิ่มสูง เพื่อเพิ่มพูนการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ช่วยชีวิตเหล่านี้

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) เผยว่าโทซิลิซูแมบจัดอยู่ในกลุ่มยาที่เรียกว่าโมโนโคลนอลแอนติบอดี (mAbs) ปัจจุบันใช้ในการรักษาโรคหลากหลาย ซึ่งรวมถึงมะเร็ง ทว่ามีราคาสูงมากจนทำให้ประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางมีโอกาสเข้าถึงยาตัวนี้ไม่มากนัก

ส่วนโมโนโคลนอลแอนติบอดีอีกตัวที่องค์การฯ แนะนำ ได้แก่ ซาริลูแมบ ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองทางสิทธิบัตรทั่วโลก ก่อให้เกิดความท้าทายด้านการผลิตและจัดสรรอย่างต่อเนื่อง  

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เจาะแก๊งคอลฯจีน จับจนท.แบงค์เอี่ยวบัญชีม้า ดูดเงินคนไทย 2,000 ล.

เจาะแก๊งคอลฯจีน จับจนท.แบงค์เอี่ยวบัญชีม้า ดูดเงินคนไทย 2,000 ล.

ไม่รอด ครูหน้ากากหมา โดนปลดแล้ว ฟันวินัยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

ไม่รอด ครูหน้ากากหมา โดนปลดแล้ว ฟันวินัยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

จนมุมรวบ "ไอ้แบงก์"  มือปลิดชีพพยาบาลสาวหมกห้อง ตกใจรู้เป็นใคร

จนมุมรวบ "ไอ้แบงก์" มือปลิดชีพพยาบาลสาวหมกห้อง ตกใจรู้เป็นใคร

นักแสดงหญิง จากไปกะทันหันในวัย 51 ปี รู้สาเหตุเสียชีวิตยิ่งใจหาย

นักแสดงหญิง จากไปกะทันหันในวัย 51 ปี รู้สาเหตุเสียชีวิตยิ่งใจหาย

สรุปราคาทองคำวันนี้ 21 พ.ค. 68 ราคาทองปรับตัวถึง 16 ครั้ง

สรุปราคาทองคำวันนี้ 21 พ.ค. 68 ราคาทองปรับตัวถึง 16 ครั้ง