สังคม

heading-สังคม

เจาะลึก!! หมอโอภาส เผย คุณสมบัติ "โอมิครอน" เชื้ออ่อนลง แต่แลกกับติดง่ายขึ้น

06 ธ.ค. 2564 | 20:13 น.
เจาะลึก!! หมอโอภาส เผย คุณสมบัติ "โอมิครอน" เชื้ออ่อนลง แต่แลกกับติดง่ายขึ้น

ผศ.นพ.โอภาส เจาะคุณสมบัติ "โอมิครอน" เชื้อน่าจะอ่อนแรงแลกกับที่ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น ย้ำความสำคัญเรื่องการฉีดวัคซีน

จากกรณีวันนี้ มีการแถลงข่าว ตรวจพบเชื้อโควิด "โอมิครอน" รายแรกในประเทศไทย แล้วนั้น ซึ่งทาง ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวเจาะคุณสมบัติเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน" หรือ "โอไมครอน" เผยเชื้อน่าจะอ่อนแรงเพื่อแลกกับคุณสมบัติที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรต้องรอข้อมูลยืนยันก่อน โดยมีการระบุไว้ว่า

ผศ.นพ.โอภาส เจาะคุณสมบัติ "โอมิครอน" เชื้อน่าจะอ่อนแรงแลกกับติดง่ายขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Omicron น่าจะระบาดก่อนที่จะมีรายงานที่แอฟริกามาซักพัก ตอนนี้หลายๆประเทศทั่วโลกเริ่มรายงานพบเชื้อไวรัสนี้ คาดว่ามีโอกาสน่าจะเป็นสายพันธุ์หลักแทนเดลต้า 

ส่วนการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งของไวรัสนี้สามารถแบ่งเป็นตำแหน่งที่รู้จัก ได้แก่การกลายพันธุ์ที่ทำให้จับกับเซลล์คนง่ายขึ้น การกลายพันธุ์ที่อาจจะลดประสิทธิภาพวัคซีน และที่ยังไม่รู้ว่าตำแหน่งการกลายพันธุ์มีผลต่อไวรัสอย่างไรบ้าง ซึงต้องรอการศึกษาจากไวรัสในห้องทดลอง มีข้อมูลว่าเชื้อนี้อาจจะทำให้เกิดการติดซ้ำได้ หากเคยเป็นโควิดมาก่อน แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าเชื้อนี้ทำให้เกิดโรคที่รุนแรงกว่าเดลต้า (แนวโน้มเชื่อว่าเชื้อน่าจะอ่อนแรงเพื่อแลกกับคุณสมบัติที่ติดได้ง่ายขึ้น แต่ยังต้องรอข้อมูลยืนยัน) 

สำหรับในขณะนี้เราควรจะทำอย่างไร ก็คงทำเหมือนกับหลายๆประเทศที่พยายามดักเคสแล้วก็กักตัวไว้ ไม่ให้กระจายอย่างรวดเร็ว เพื่อซื้อเวลาสำหรับการเตรียมฉีดวัคซีนให้ภูมิสูงขึ้นพอ (บางประเทศ ขยับเข็มกระตุ้นให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง) ช่องทางที่น่ากังวลคือการเข้ามาจากชายแดน คนเดินข้ามไปมา ถ้าเริ่มมีการระบาดรอบบ้านเราซึ่งคุมได้ยาก

 

ถึงแม้ว่าเรายังไม่มีวัคซีนที่จำเพาะสำหรับสายพันธุ์นี้ แต่ข้อมูลจากหลายๆการศึกษาพบว่าถ้าระดับของภูมิสูงพอก็อาจจะยับยั้งไวรัสได้ 

จากรูปที่แสดงการศึกษาของศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิกและมหาวิทยาลัย Duke ร่วมกับ National University of Singapore (Duke-NUS) ที่กำลังรอตีพิมพ์ ได้วัดภูมิในคนไทยที่ได้รับ sinovac 2 เข็ม แล้วกระตุ้นด้วย แอสตร้า พบว่าที่ 7 วันหลังฉีดภูมิที่ขึ้นสามารถ neutralize ไวรัสสายพันธุ์อื่นได้หลายสายพันธุ์เช่นเบต้า แกมม่าที่ดื้อวัคซีนมากๆ แม้ว่าไม่ใช่วัคซีนที่จำเพาะต่อสายพันธุ์นั้นๆก็ตาม มีบางคนภูมิสามารถยับยั้งไวรัส SARS CoV-1 และ coronavirus สายพันธุ์ที่อยู่ในค้างคาวได้ด้วย ตอนนี้รอทำ multiplex testของ Omicron เพิ่มเติม (การศึกษานี้ใช้กลุ่ม Sinovac ตามด้วย Aztra ตามอาสาสมัครที่ยินดีเข้าร่วมการศึกษา แต่ถ้าวัคซีนอื่นที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีเช่น mRNA ก็น่าได้ผลเช่นเดียวกัน) 

คำแนะนำของหลายๆประเทศขณะนี้คือยังย้ำความสำคัญของการฉีดวัคซีน ทำให้ภูมิคุ้มกันสูงพอ เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิต

ส่วนการมุมของการรักษา  เนื่องจากการกลายพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ด้านนอก แต่ยาที่ออกฤทธิ์ต่อส่วนอื่นของไวรัสเช่น Molnupiravir Paxlovid  Remdesivir ก็น่าจะยังใช้ได้อยู่ 

ตื่นเต้นได้ว่ามี โอมิครอน แล้ว แต่อย่าตระหนก

Keep Calm and Get a Booster กัน

ข้อมูลวันที่ 6 ธ.ค. 2564

 

ผศ.นพ.โอภาส เจาะคุณสมบัติ "โอมิครอน" เชื้อน่าจะอ่อนแรงแลกกับติดง่ายขึ้น

 

ผศ.นพ.โอภาส เจาะคุณสมบัติ "โอมิครอน" เชื้อน่าจะอ่อนแรงแลกกับติดง่ายขึ้น

 

ขอบคุณ Opass Putcharoen

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tnews

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง