ร้ายไม่แพ้ฝีดาษลิง โรคมาลาเรีย โนวไซ ติดจากลิง ซ้ำพบระบาดในไทยแล้ว
ร้ายไม่แพ้ฝีดาษลิงที่ยังไม่พบแพร่ระบาดในไทย โรคมาลาเรีย โนวไซ ติดจากลิง ซ้ำพบระบาดในไทยแล้ว พาหะร้ายคือ ยุงก้นปล่อง
ร้ายไม่แพ้ฝีดาษลิง โรคมาลาเรีย โนวไซ ติดจากลิง ซ้ำพบระบาดในไทยแล้ว แม้จะไม่กระจายเร็วเท่าโควิด แต่ก็สร้างความกังวลใจให้ทั่วโลกไม่น้อย ซึ่งก่อนหน้านี้ เยอรมนีมีคำแนะนำให้กักตัวผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงนาน 21 วัน และสั่งซื้อวัคซีนโรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษในคน 40,000 โดส เพื่อฉีดให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อหากการระบาดรุนแรงมากขึ้น
"ฝีดาษลิง" ถือเป็นโรคระบาดที่ทั่วโลกกำลังจับตา แน่นอนว่า ที่ประเทศไทย แม้จะยังไม่พบผู้ป่วยในประเทศ แต่ก็จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น ซึ่ง กรมควบคุมโรค โดยกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค ได้เริ่มให้บริการคัดกรองโรคฝีดาษลิงสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ และเน้นติดตามเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงสูง
แต่ถึงแม้จะมีชื่อว่า "โรคฝีดาษลิง" แต่ในความเป็นจริง โรคฝีดาษลิง ที่สามารถติดจากสัตว์สู่คน แต่ไม่ได้ติดจากลิงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังพบการติดเชื้อจากสัตว์พาหะอย่างสัตว์ตระกูล "สัตว์ฟันแทะ" อย่างหนูป่า กระรอก ที่สามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้ด้วย ซึ่งฝีดาษลิง ไม่จำเป็นต้องติดจากลิง แต่ทราบหรือไม่ว่า ในตอนนี้ ยังมีอีกหนึ่งโรคที่ติดได้จากลิง และกำลังระบาดในบางพื้นที่ของไทย
โรคร้ายที่ว่า นั่นก็คือ "มาลาเรียโนวไซ" ที่พบผู้ป่วยในไทยหลายสิบรายแล้วในตอนนี้ เห็นแค่ชื่อหลายคนอาจจะสงสัยแล้วว่า โรคมาลาเรียโนวไซคืออะไร หรือ โรคมาลาเรียโนวไซเกิดจากอะไร หรือ โรคมาลาเรียโนวไซมีวิธีป้องกันอย่างไร หรือ โรคมาลาเรียโนวไซมีอาการอย่างไร วันนี้ทีมข่าวไทยนิวส์มีคำตอบมาให้แล้ว
โดย "มาลาเรียโนวไซ" เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Plasmodium knowlesi ซึ่งเชื้อนี้มีอยู่ในลิง แต่สามารถติดต่อและทำให้เกิดโรคในคนได้ หลายคนอาจคิดว่า ชีวิตนี้ไม่ได้ใกล้ชิดลิงเลยไม่มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ แต่ความจริงแล้ว ไข้มาลาเรียแพร่จากลิงสู่คนผ่าน "ยุงก้นปล่อง" อีกทอดหนึ่ง นั่นก็คือยุงที่ไปกัดลิงที่มีเชื้อ แล้วมากัดคนต่อ ทำให้ติดโรคได้นั่นเอง
สำหรับมาลาเรียชนิดโนวไซสามารถแบ่งตัวในร่างกายคนได้เร็วกว่าเชื้อมาลาเรียชนิดอื่นๆ โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรครายงานว่า ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 – 31 มี.ค. 65 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรียจากเชื้อชนิด “โนวไซ” แล้ว 70 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ระนอง สงขลา และตราด
อาการโรคมาลาเรีย โนวไซ นั้นจะมีอาการคล้ายไข้มาลาเรีย รวมถึงคล้ายกับโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยอีกหลายโรค เช่น ไข้เลือดออก ไข้รากสาดใหญ่ (ซึ่งมีการรักษาแตกต่างกัน)
ดังนั้น หากใครที่มี อาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เหงื่อออกมาก บวกกับมีประวัติกลับออกจากป่า หรือพื้นที่อยู่อาศัยของลิงที่เป็นโรค แล้วขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และแจ้งประวัติเข้าป่า เพื่อให้การรักษารวดเร็ว หากช้าอาจมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงและเสียชีวิตได้ ผู้ที่มีไข้ติดต่อเกิน 3 วันควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม
สำหรับ วิธีป้องกัน ไข้มาลาเรียโนวไซ
สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือทำงานในป่าหรือนักท่องเที่ยว ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด โดยสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายากันยุง และนอนในมุ้ง เพราะมาลาเรียโนวไซ คือโรคที่ติดต่อจากลิงที่มีเชื้อสู่คน โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนั่นเอง
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลเวชศาสตร์ เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล