สังคม

heading-สังคม

12 มิ.ย. 66 “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้

12 มิ.ย. 2566 | 15:53 น.
12 มิ.ย. 66  “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้

ดีเดย์ 12 มิ.ย.นี้ “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โมโนเรลสายแรกของประเทศไทย เตรียมขยายเส้นทางเพิ่มเติมอีก 9 สถานี จากสถานีภาวนา ถึง สถานีสำโรง ระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น.

12 มิ.ย. 66  “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้ 

12 มิ.ย. 66  “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

12 มิ.ย. 66  “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้

"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" (ลาดพร้าว-สำโรง) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง (MRT สายสีเหลือง) เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี มาตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2566 นั้น

ล่าสุด วันนี้ (12 มิ.ย.66) รฟม. ขยายสถานีให้บริการเพิ่มเติมจากสถานีภาวนา ถึงสถานีสำโรง และยังขยายระยะเวลาให้บริการเป็นระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น.

โดยประชาชนสามารถร่วมทดลองใช้บริการ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" 9 สถานี จะเป็นเส้นทางต่อเนื่องมาจากช่วง 13 สถานี ที่เปิดให้ทดลองใช้เดิม รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 22 สถานี ดังต่อไปนี้

- สถานีภาวนา

- สถานีโชคชัย 4 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 55) และทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 58)

- สถานีลาดพร้าว 71 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา) ทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 84) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 80/3)

- สถานีลาดพร้าว 83

- สถานีมหาดไทย ที่ทางเข้า-ออก 2 (โรงพยาบาลลาดพร้าว) เปิดใช้เฉพาะบันได

- สถานีลาดพร้าว 101
 

12 มิ.ย. 66  “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เปิดนั่งฟรีอีก 9 สถานี สิ้นสุด 2 ทุ่ม คืนนี้

- สถานีบางกะปิ เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (ซอยลาดพร้าว 113) ทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 115) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 142)

- สถานีแยกลำสาลี

- สถานีศรีกรีฑา

"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" เปิดกี่โมง-ปิดกี่โมง

พร้อมกันนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2566 รฟม. ยังขยายช่วงเวลาให้บริการเป็นระหว่างเวลา 06.00 – 20.00 น. เพื่อรองรับความต้องการเดินทางในช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็นของประชาชน หลังจากช่วงสัปดาห์แรกได้เปิดให้บริการในช่วงเวลา 09.00 – 20.00 น.

"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายอื่น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ดังนี้ 

  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่สถานีลาดพร้าว
  • สายสีเทาของกรุงเทพ ที่สถานีลาดพร้าว 71
  • สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี ที่สถานีแยกลำสาลี 
  • รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) ที่สถานีหัวหมาก 
  • สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง


ตรวจสอบทางขึ้น-ลง ที่สามารถใช้บริการได้ ดังนี้

  • สถานีภาวนา เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • สถานีโชคชัย 4 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 55) และทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 58)
  • สถานีลาดพร้าว 71 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา) ทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 84) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 80/3)
  • สถานีลาดพร้าว 83 เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • สถานีมหาดไทย ที่ทางเข้า-ออก 2 (โรงพยาบาลลาดพร้าว) เปิดใช้เฉพาะบันได
  • สถานีลาดพร้าว 101 เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • สถานีบางกะปิ เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (ซอยลาดพร้าว 113) ทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 115) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 142)
  • สถานีแยกลำสาลี เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • สถานีศรีกรีฑา เปิดใช้ทุกทางขึ้น-ลง
  • "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" เริ่มเก็บค่าโดยสารเมื่อไหร่ ?

เบื้องต้นมีการประเมินว่าอาจจะมีการเริ่มจัดเก็บค่าโดยสาร 15 – 45 บาท (รอการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง) ในวันที่ 3 ก.ค.นี้เป็นต้นไป เนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติอัตราค่าโดยสาร และออกประกาศกำหนดใช้ โดยแบ่งชำระค่าโดยสาร ดังนี้

บัตร EMV
ผู้โดยสารสามารถนำบัตรที่มีสัญลักษณ์ EMV แตะจ่ายค่าโดยสาร และใช้เชื่อมต่อการเดินทางไปยังระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีลาดพร้าว โดยไม่เสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนในจำนวน 15 บาท มีข้อจำกัดต้องเปลี่ยนผ่านระบบรถไฟฟ้าภายในระยะเวลา 30 นาที ซึ่งช่วงแรกผู้โดยสารสามารถชำระผ่านบัตร EMV ได้ที่ช่องทางพิเศษ ติดกับห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ส่วนในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบหัวอ่านให้สามารถแตะจ่าย EMV ในทุกช่องทางเข้าออกระบบรถไฟฟ้า

บัตรแรบบิท
ผู้โดยสารสามารถแตะจ่ายค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิทที่ออกโดย BTS ซึ่งหลังจากนี้จะมีการจัดทำโปรโมชันเพื่อใช้ในการเดินทางเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีเขียวด้วย

บัตรโดยสารเที่ยวเดียว
ผู้โดยสารสามารถออกบัตรโดยสารดังกล่าว ณ ตู้จำหน่ายบัตรโดยสาร และห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ซึ่งจะมีอัตราค่าโดยสาร 15 – 45 บาท

ทั้งนี้ รูปแบบการชำระค่าโดยสารในเบื้องต้นนั้น หากเปรียบเทียบแล้วจะพบว่าการชำระค่าโดยสารด้วยบัตร EMV เป็นทางเลือกของประชาชนที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายจากการจัดเก็บค่าแรกเข้า กรณีต้องเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ในจำนวนประมาณ 15 บาท โดยหากประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นประจำ จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนราว 600 บาท คำนวณจากค่าแรกเข้าที่ถูกลดหย่อนจากการเดินทางวันทำงานไปกลับจำนวน 30 บาทต่อวัน
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี"  สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี" สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่