สว.โหวตผ่านแล้ว พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจาใน 120 วัน
สิ้นสุดการรอคอย! สว.โหวตผ่าน "พรบ. สมรสเท่าเทียม"บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจานุเบกษา 120 วัน โดยจากผู้ร่วมลงมติจำนวน 152 คน มีผู้เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง
สว.โหวตผ่านแล้ว "พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม" บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจาใน 120 วัน
ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับ "พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม" กันก่อน
พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมคืออะไร บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือชาว LGBTQ+ จะได้รับสิทธิ์จะหมายถึงการสมรสที่บุคคลสามารถสมรสและได้รับสิทธิ์ทางกฎหมายที่เท่าเทียมกัน โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นการสมรสระหว่าง ‘เพศชาย’ และ ‘เพศหญิง’ เพียงอย่างเดียว
แต่แน่นอนว่า หากไม่ได้จำกัดเพศอยู่ที่ชายและหญิงเหมือนที่ผ่านมา เชื่อว่าหลาย ๆ คนเองคงสับสนอยู่ไม่น้อยว่า แท้จริงแล้ว คำว่า ‘เพศ’ ควรจะให้คำนิยามว่าอย่างไร
ในสมัยก่อน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ‘เพศ’ เป็นคำที่ใช้เพื่อแบ่งแยกว่าใครเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ซึ่งจะดูได้จากอวัยวะสืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน แต่ในปัจจุบันนี้ คำว่า ‘เพศ’ ไม่ได้พิจารณาแค่อวัยวะสืบพันธุ์ที่มีแต่กำเนิด แต่ยังรวมไปถึง ‘สภาวะ’ ที่บุคคลหนึ่งพึงพอใจ ตลอดจนการนิยามตัวเองที่แตกต่างออกไปจากขนบเรื่องเพศที่มีเพียงแค่ 2 เพศ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อเป็นการนิยามสภาวะตามความต้องการของบุคคล ‘เพศ’ จึงเป็นคำที่ซับซ้อน มีความหลากหลาย และไม่สามารถนิยามได้อย่างตายตัว เนื่องจากอาจทำให้ไม่ครอบคลุมสำหรับทุกความหมายและอัตลักษณ์
ซึ่งล่าสุดเมื่อ 14:51 ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ลงมติเห็นชอบในพรบ.สมรสเท่าเทียม โดยจากผู้ร่วมลงมติจำนวน 152 คน มีผู้เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง
สำหรับเนื้อหาของกฎหมายสมรสเท่าเทียมเบื้องต้น มีดังต่อไปนี้
- สถานะทางกฎหมายคือ "คู่สมรส" คือมีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมาย
- ให้อายุการสมรสเป็น 18 ปี จากเดิม 17 ปี
- เปลี่ยนจากชายหญิง เป็นผู้หมั้น
- กำหนดให้การสมรสหรือแต่งงานครอบคลุมบุคคลทุกเพศ ไม่จำกัดแค่เพศชายและเพศหญิง
ลำดับต่อไปนายกรัฐมนตรีจะนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย และจะมีการบังคับใช้ภายใน 120 วัน หลังจากที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การผ่านร่างกฎหมายในวันนี้ ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย (รองจากไต้หวันและเนปาล) อีกทั้งยังเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีร่างกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน และนับเป็นประเทศที่ 38 ของโลก ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ถือเป็นบทสรุปการต่อสู้กว่าสิบปีที่น่ายินดีอย่างยิ่ง