ข่าว

heading-ข่าว

PTSD แผลใจที่มองไม่เห็น ภัยร้ายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

30 มี.ค. 2568 | 14:44 น.
PTSD แผลใจที่มองไม่เห็น ภัยร้ายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

PTSD คืออะไร หลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ หลายคนต้องเผชิญกับบาดแผลที่ไม่เพียงแต่ทางร่างกาย แต่ยังรวมถึงบาดแผลทางจิตใจที่มองไม่เห็น หนึ่งในนั้นคือ "โรค PTSD"

โรค PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder เป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่งที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย เช่น การก่อการร้าย สงคราม การถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติ ประสบอุบัติเหตุ แผ่นดินไหว เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยอาจจะเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง หรือเป็นผู้ที่ได้รับการสูญเสียจากเหตุการณ์ทางอ้อม

 

PTSD แผลใจที่มองไม่เห็น ภัยร้ายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาการของโรค PTSD
 

อาการเริ่มแรกของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ คือ จะเห็นภาพเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ ราวกับเครื่องเล่นวิดีโอที่ฉายแต่ภาพเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทำให้ผู้ป่วยเห็นภาพหลอน ฝันร้าย และเกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง

 

  • เกิดอาการ flash back คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ จนเกิดความตื่นกลัว บางคนอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น และเหงื่อออกมาก
  • มองโลกในแง่ลบ ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความสุข ชีวิตหม่นหมอง มีอาการไม่สนใจในสิ่งที่เคยชอบทำ รู้สึกแปลกแยก และอาจร้ายแรงถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย
  • กลัวและพยายามหลีกเลี่ยง ไม่กล้าเผชิญเหตุการณ์ที่เคยประสบเหตุ หรือหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ทำให้คิดถึงเหตุการณ์นั้น ๆ
     

ภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD
 

เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย และทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตรวมถึงด้านอารมณ์ไปด้วย โดยสามารถนำพาไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย ได้แก่

 

  • โรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น
  • พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การหันมาใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจทำร้ายตนเอง เป็นต้น
  • อาการทางร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดหน้าอก เป็นต้น

 

PTSD แผลใจที่มองไม่เห็น ภัยร้ายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

 

การรักษาภาวะ PTSD
 

การรักษาภาวะดังกล่าวมีด้วยกันหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย โดยมีวิธีรักษาดังนี้

 

  • เรียนรู้และรับมือ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวต้องพยายามเรียนรู้การจัดการกับความเครียด เช่น หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เป็นต้น
  • ดูแลตนเองมากขึ้น ไม่ควรบริโภคของที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติด และเพิ่มเวลาในการพักผ่อนให้มากขึ้นกว่าเดิม
  • การรับยาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
  • การบำบัด สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาเพื่อปรับให้สามารถค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนความคิดได้ หรือเลือกที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรากลัวและเรียนรู้วิธีการรับมือที่ถูกต้องแต่วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การได้รับการดูแลพูดคุยหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็สามารถบำบัดได้เช่นกัน
     

ทำอย่างไรเมื่ออาจต้องเผชิญภาวะ PTSD
 

หากจะกล่าวถึงการป้องกันภาวะดังกล่าวคงไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นภาวะที่มีต้นเหตุมาจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้นเมื่อเราผ่านเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรู้สึกของเราอย่างรุนแรงเราจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและขอคำปรึกษา พูดคุยกับผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของเราได้ หากิจกรรมเพื่อบรรเทาความเครียด เป็นต้น ยิ่งเราเข้ากระบวนการรักษาเร็วเราก็มีโอกาสเป็นภาวะ PTSD น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเพชรเวช 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ลูกค้าใจหาย ร้านอาหารดัง "บ้านชิดกรุง กุ้งเผา" ประกาศปิดกิจการ

ลูกค้าใจหาย ร้านอาหารดัง "บ้านชิดกรุง กุ้งเผา" ประกาศปิดกิจการ

อ.เป็นหนึ่ง เผย 3 แนวโน้มแผ่นดินไหวในไทย จับตาลอยเลื่อนกาญจน์

อ.เป็นหนึ่ง เผย 3 แนวโน้มแผ่นดินไหวในไทย จับตาลอยเลื่อนกาญจน์

เปิดจำนวนเงินเยียวยา เหยื่อตึกถล่ม ประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่

เปิดจำนวนเงินเยียวยา เหยื่อตึกถล่ม ประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่

"บ.ค้าทองดัง" ปิดหนีลูกค้า นายกสมาคมค้าทอง คาดสาเหตุที่แท้จริง

"บ.ค้าทองดัง" ปิดหนีลูกค้า นายกสมาคมค้าทอง คาดสาเหตุที่แท้จริง

CP ALL Education Forum 2025 แจกทุน 1,648 ล้าน ปั้นเยาวชน รับมือยุค AI

CP ALL Education Forum 2025 แจกทุน 1,648 ล้าน ปั้นเยาวชน รับมือยุค AI