ข่าว

heading-ข่าว

ว่อนเตือน กุนเชียงก่อมะเร็งเท่าบุหรี่ ล่าสุด ไขความจริงชัดแล้ว

18 เม.ย. 2568 | 12:52 น.
ว่อนเตือน กุนเชียงก่อมะเร็งเท่าบุหรี่ ล่าสุด ไขความจริงชัดแล้ว

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ไขความจริง "กุนเชียงมีสารก่อมะเร็งเทียบเท่าบุหรี่" จริงหรือแค่ข่าวลวง? หลังว่อนเตือนทั่วโซเชียล

จากกระแสในโลกออนไลน์ที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า "กุนเชียงมีสารก่อมะเร็งเทียบเท่าบุหรี่" ทำให้หลายคนวิตกกังวล ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาอธิบายข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง

 

ว่อนเตือน กุนเชียงก่อมะเร็งเท่าบุหรี่ ล่าสุด ไขความจริงชัดแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ว่อนเตือน กุนเชียงก่อมะเร็งเท่าบุหรี่ ล่าสุด ไขความจริงชัดแล้ว

 

รศ.ดร.เจษฎา ระบุว่า สารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง สามารถพบได้ในอาหารหลายประเภท ไม่ได้จำกัดเฉพาะกุนเชียง และแม้แต่ในควันบุหรี่ก็มีสารชนิดนี้ในปริมาณที่มากกว่าอาหารหลายเท่า

ไนโตรซามีน เกิดจากอะไร?

ไนโตรซามีนเกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง "สารเอมีน" ในเนื้อสัตว์ กับ "สารไนเตรต-ไนไตรท์" (สารกันบูด เช่น ดินประสิว) โดยเฉพาะเมื่อผ่านการปรุงด้วยความร้อนสูง เช่น การทอด ปิ้ง ย่าง รวมถึงการปรุงรสด้วยเครื่องเทศบางชนิดก็อาจเพิ่มโอกาสเกิดสารนี้ได้

ปริมาณในกุนเชียง vs บุหรี่

งานวิจัยจากประเทศจีนพบว่า กุนเชียงมีสารไนโตรซามีนในระดับ 0.5 - 100.7 ไมโครกรัม/กิโลกรัม (ค่ามัธยฐาน 7.5 ไมโครกรัม/กก.)

ขณะที่บุหรี่มีสารเดียวกันในระดับ 2.5 - 5.5 ไมโครกรัม/กรัมของยาสูบ ซึ่งถือว่ามากกว่ากุนเชียงหลายเท่า

ว่อนเตือน กุนเชียงก่อมะเร็งเท่าบุหรี่ ล่าสุด ไขความจริงชัดแล้ว

 

ตรวจสอบกุนเชียงในไทย ปลอดภัยแค่ไหน?

ข้อมูลจากหลายหน่วยงานในประเทศไทย เช่น สถาบันอาหาร และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้สุ่มตรวจตัวอย่างกุนเชียงจากตลาดทั่วประเทศ พบว่าปริมาณสารไนเตรตและไนไตรท์ในตัวอย่าง “ไม่เกินค่ามาตรฐาน” ตามที่กฎหมายกำหนด

ข้อสรุป : ไม่ต้องตื่นตระหนกเกินเหตุ

การบริโภคกุนเชียงหรือเนื้อแปรรูปในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งทันที แต่หากรับประทานมากเกินไปหรือบ่อยเกินไป ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงได้เช่นเดียวกับอาหารแปรรูปอื่นๆ ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือ “ลด-เลี่ยง-เลือก” อย่างมีสติ

ข้อแนะนำในการลดความเสี่ยงจากไนโตรซามีน:

  • ลดการบริโภคอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง
  • เลือกเนื้อสัตว์สดมาปรุงเอง และหลีกเลี่ยงการย่างไหม้
  • ตรวจสอบฉลากอาหาร ว่ามีไนเตรต/ไนไตรท์หรือไม่
  • หลีกเลี่ยงเนื้อที่มีสีแดงจัดผิดธรรมชาติ
  • กินผักผลไม้ที่มีวิตามินซี ช่วยยับยั้งการเกิดไนโตรซามีน
  • หยุดสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่คือแหล่งสะสมไนโตรซามีนชั้นดี

สรุปคือ "กุนเชียงไม่ได้อันตรายเทียบเท่าบุหรี่" อย่างที่ข่าวลือกล่าวไว้ แต่การกินในปริมาณที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงการปรุงด้วยความร้อนสูงมากเกินไป คือทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"ซ้อก้าด" แอดมิดด่วน หมอส่องกล้องเจอเต็ม ๆ แฟนหนุ่มดูแลไม่ห่าง

"ซ้อก้าด" แอดมิดด่วน หมอส่องกล้องเจอเต็ม ๆ แฟนหนุ่มดูแลไม่ห่าง

เปิดประวัติ "สปาย" มือเป่าขมับ "น้องแตงโม" ประกาศลั่นไม่มอบตัว

เปิดประวัติ "สปาย" มือเป่าขมับ "น้องแตงโม" ประกาศลั่นไม่มอบตัว

เฮลั่น ครม. ไฟเขียว ต่อใบขับขี่ออนไลน์ได้  ไม่ต้องทดสอบร่างกาย

เฮลั่น ครม. ไฟเขียว ต่อใบขับขี่ออนไลน์ได้ ไม่ต้องทดสอบร่างกาย

เปิดชีวิต เด็กเอ็นเหยื่อสาวท้องหึงผัว รู้แล้วถึงกับสงสาร

เปิดชีวิต เด็กเอ็นเหยื่อสาวท้องหึงผัว รู้แล้วถึงกับสงสาร

"โอปอล สุชาตา" ถูกปลดฟ้าผ่า พ้นรองอันดับ 3 Miss Universe 2024

"โอปอล สุชาตา" ถูกปลดฟ้าผ่า พ้นรองอันดับ 3 Miss Universe 2024