ค้นพบ ครั้งแรกในไทย "มด Diacamma assamense" ชมได้ที่อุทยานฯ จ.กำแพงเพชร

ค้นพบครั้งแรกในไทย "มด Diacamma assamense" ชมได้ที่อุทยานฯ จ.กำแพงเพชร รายงานจาก กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ ได้ค้นพบ มด Diacamma assamense ครั้งแรกในประเทศไทย แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์พื้นป่าเมืองไทย
ค้นพบครั้งแรกในไทย "มด Diacamma assamense" ชมได้ที่อุทยานฯ จ.กำแพงเพชร
รายงานจาก กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ ได้ค้นพบ มด Diacamma assamense ครั้งแรกในประเทศไทย โดยการค้นพบครั้งนี้ เกิดขึ้นนักวิจัยกลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ โดย น.ส.เนตรนภา โพธิ์ศรีทอง นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ และ ดร.แก้วกวิกา รัตนจันทร์ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ ร่วมกับ ดร.วียะวัฒย์ ใจตรง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ รายงานการพบมด Diacamma assamense Forel, 1897 ครั้งแรกในประเทศไทย
ซึ่งมดชนิดนี้ มีขนาดความยางอยู่ที่ 10-11 มม. สีดำ หัว อก เอว และท้องปล้องเเรกมีสันร่องคล้ายลายนิ้วมือ ส่วนเอวยาวเป็นแท่ง ด้านบนของเอวมีหนามแหลม 1 คู่ มีบทบาทในระบบนิเวศเป็นตัวห้ำ (แมลงที่กินแมลงชนิดอื่น ๆ เป็นอาหาร และจะกินเหยื่อได้หลายตัว จนกว่าจะเจริญเติบโตครบวงจรชีวิต) กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร
สำหรับมด Diacamma assamense ถือเป็นชนิดที่ 6 ของสกุลนี้ ที่มีรายงานพบในประเทศไทย โดยค้นพบที่ป่าเบญจพรรณ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จ.กำแพงเพชร โดยปกติมดชนิดนี้ จะมีเขตการแพร่กระจายในพื้นที่ อินเดียถึงออสเตรเลีย
การค้นพบดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Thai Specimen 2 : 17-21 (2022) ซึ่งเผยแพร่ผลงานออนไลน์ไปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา
โดยบริเวณที่พบ พบในป่าเบญจพรรณ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จ.กําแพงเพชร
ที่มา : กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้

ตะลึง กู้ภัยล้มฟุบตะโกนช่วยด้วย กลางพิธีโต๊ะจีนเหยื่อตึกถล่ม

เหยื่อปูนตกใส่รถดับ ถนนพระราม 2 ญาติสงสัย รพ.ส่อให้เลือดผิดกรุ๊ป

เปิดนาที กู้ภัยถูกวิญญาณในตึก สตง.สิงร่าง ร้องหิวขอข้าวน่าเวทนา

ดาวใหญ่ย้าย เปิดดวง 12 ราศี ชีวิตพลิก เงินทองมีใช้ไม่เดือดร้อน
